ดูแบบคำตอบเดียว
  #16  
เก่า 21-10-2009, 03:17
อักขรัญญ์ อักขรัญญ์ is offline
สมาชิก
 
วันที่สมัคร: Jul 2009
สถานที่: นวนคร ปทุมธานี
ข้อความ: 15
ได้ให้อนุโมทนา: 10,792
ได้รับอนุโมทนา 4,682 ครั้ง ใน 80 โพสต์
อักขรัญญ์ is on a distinguished road
Default

ครับ สรุปว่า บายศรีบริวารนั้นใช้ลูกเจ็ดชั้นเดียว ลูกนั้นหมายถึงที่เหมือนเล็บ ตรงเล็บปลายจะติดดอกมะลิตูม ๆ ใช่ไหมครับ ส่วนชั้นนั้นหากเรายืนมองเข้าไปที่บายศรีก็จะเห็นเป็นเหมือนฉัตร เป็นชั้น ๆ พอเข้าไปดูใกล้ ๆ จะเห็นเป็นไม้แผ่นกลม ๆ แนวนอนเป็นโครงอยู่ในชั้นแต่ละชั้น แกนกลางเป็นเสากลมแนวตั้งยาวลงมาที่ฐานบายศรีใช่หรือไม่ครับ

ข้อความคุณนางมารร้ายที่ว่า "...คือไหว้พระนี่มีลูกเก้าเหมือนกัน แต่ของปากคลองฯ มักใช้ตัวบายศรีแค่สี่ตัว ขณะที่ทางเรามักใช้ห้าตัว " หมายความถึงบายศรีประธานที่อยู่ตรงกลางใช่หรือไม่ และใช้เก้าตัว หรือห้าตัว ที่ยังสงสัยอยู่ต่อไปคือ คำว่า " ไหว้พระ " หมายถึงไหว้ในพิธีบวงสรวงแบบใดครับ เช่น ก่อสร้างบ้านหรืออาคารห้างร้าน เปิดกิจการ พระภูมิเจ้าที่ ส่วนปลุกเสกวัตถุมงคลคงเป็นไหว้พระตามความหมายที่สงสัยนี้ เพื่อจะได้ใช้ถูกว่าจะใช้กี่ชั้นและกี่ลูกครับ

เท่าที่อ่านข้างต้น คือจะให้ใช้บายศรีประธานสามชั้นหากไม่เรื่องใหญ่( เรื่องใหญ่ เช่น สร้างโบสถ์ ) ตรงนี้หากจะเปิดร้านขายของเล็ก ๆ เรามีงบจำกัด เราใช้ชั้นเดียวแต่มีหลาย ๆ ลูก อย่างน้อยสามลูกขึ้นไป ได้หรือไม่ครับ และใช้กี่ลูกดีครับ เพราะเคยถามที่เขาขายกัน มักจะได้ยินว่าบายศรีพรหม หรือบายศรีเทพ ซึ่งก็คือมีชั้นเดียว ? อย่างนี้นำมาเป็นบายศรีประธานได้หรือไม่แบบไหนเหมาะสมกว่ากันครับ รบกวนแนะนำด้วยครับสงสัยมานานแล้ว ยังกลัว ๆ และโง่ ๆ อยู่สงสัยก็ไม่กล้าเข้าไปถามครูบาอาจารย์ท่านครับ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย อักขรัญญ์ : 21-10-2009 เมื่อ 03:46
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 103 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ อักขรัญญ์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา