ดูแบบคำตอบเดียว
  #32  
เก่า 23-03-2022, 18:00
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,836 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : การปฏิบัติความเพียรแบบสายวัดป่าที่มีอาจารย์กล่าวถึงเมื่อสักครู่นี้ ต่างจากการปฏิบัติแบบตึงเกินไป ที่พระพุทธเจ้าสอนอย่างไรครับ ? เพราะว่าบางทีผมตั้งใจทำจนจิตเครียด เลยไม่รู้ว่าจะวางกำลังใจอย่างไรดี ว่าเราควรที่จะเพียรแบบช่างมัน ร่างกายจะเป็นโรคเส้นประสาทหรือตายก็ช่างมัน หรือว่าผ่อนลงมาแบบสบาย ๆ ครับ ?

ตอบ : ขอให้ท่านเข้าใจก่อนว่า หลักการปฏิบัติแบบสายวัดป่านั้น เป็นสายที่ค่อนข้างจะเข้มข้น และเหมาะสมกับชาวอีสาน คนอีสานนั้นตั้งแต่เกิดมาก็พบแต่ความยากลำบาก เพราะว่าดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวย ต้องต่อสู้ดิ้นรนมากกว่าภาคอื่น ๆ ทำให้แต่ละคนมีกำลังกายกำลังใจที่เข้มแข็งมาก ถ้าไม่ได้หลักธรรมที่โหดพอกัน จะเอาไม่อยู่ ดังนั้น..นักปฏิบัติสายวัดป่าจึงใช้คำว่า สู้แค่ตาย หรือว่า ธรรมะอยู่ฟากตาย

แต่ถ้าหากว่าเราเองไม่ได้มาในสายนั้น หลักการปฏิบัติ พระพุทธเจ้าท่านบอกเอาไว้ ๔ อย่าง ก็คือ

สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติง่าย แต่บรรลุยาก

สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติง่าย แต่บรรลุเร็ว

ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติยาก แต่บรรลุเร็ว

ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบาก แล้วบรรลุช้าด้วย

เราต้องพยายามค้นให้เจอว่าตัวเราเหมาะกับตรงจุดไหน แต่ถ้าหากว่าไปดูในมหาปรินิพพานสูตร พระสุตตันตปิฎก จะเห็นว่าก่อนที่พระอานนท์จะบรรลุมรรคผล ท่านเพียรพยายามเดินจงกรมมาทั้งคืนแล้วไม่ได้อะไร จนกระทั่งเห็นว่าเหลือเวลาเพียงเล็กน้อย เราควรจะพักผ่อนดีกว่า พอกำลังใจคลายออกมา ตั้งใจจะพักผ่อน ก็ลงตัวได้ช่องพอดี ท่านก็บรรลุตรงนั้นเลย

ฉะนั้น..ถ้าหากว่าเป็นไปได้ของเราเองก็คือผ่อนหน่อย แต่เป็นการผ่อนทางร่างกาย เพียงแต่ว่าจิตใจของเราพยายามรักษาให้อยู่กับการภาวนาเอาไว้ ถ้าสามารถทำลักษณะอย่างนั้นได้ แล้วเกิดผลดี ก็ให้ทำต่อไป หรือถ้าหากว่ายังไม่เกิดผลดี ก็พยายามที่จะหาให้ได้ว่า ตัวเราเหมาะกับการปฏิบัติแนวไหนใน ๔ ทางที่พระพุทธเจ้าท่านว่ามา แล้วปฏิบัติไปตามนั้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-03-2022 เมื่อ 18:09
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 12 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา