ชื่อกระทู้: สติปัฏฐาน ๔
ดูแบบคำตอบเดียว
  #5  
เก่า 27-09-2009, 19:45
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 260
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,193 ครั้ง ใน 1,278 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี

๑. นิวรณปัพพะ กำหนดนิวรณ์
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมคือ ๑ กามฉันทะ มีในจิต ไม่มีในจิต ยังไม่เกิด ย่อมเกิด ละเสียแล้วไม่เกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด ๒ พยาบาท ๓ ถีนมิทธะ ๔ อุทธัจจะ กุกกุจจะ ๕ วิจิกิจฉา
๒. ขันธปัพพะ กำหนดอุปาทานขันธ์ ๕ พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ความดับไปของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
๓. อายตนปัพพะ กำหนดอายตนะพิจารณาเห็นธรรม คืออายตนะภายใน และภายนอกอย่างละ ๖ ว่าสังโยชน์ (เครื่องผูก) ย่อมเกิดขึ้นอาศัย ตา-รูป หู-เสียง จมูก-กลิ่น ลิ้น-รส กาย-โผฏฐัพพะ ใจ-ธรรมารมณ์ ย่อมรู้อันนั้น อนึ่ง สังโยชน์ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้น อนึ่งสังโยชน์ที่เกิดแล้วได้ประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น อนึ่งละสังโยชน์ ที่เกิดแล้วได้ประการใด ย่อมรู้ประการนั้น อนึ่งสังโยชน์ที่ละแล้ว ไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
๔. โพชฌงค์ปัพพะ กำหนดโพชฌงค์พิจารณาเห็นธรรม คือสติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เมื่อโพชฌงค์ทั้ง ๗ นี้ มี-ไม่มีกายในจิตของเรา ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดแล้วเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
๕. สัจจปัพพะ กำหนดสัจจะ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรม คืออริยสัจ ๔ นี่ทุกขสมุทัย นี่ทุกขนิโรธ นี่ทุกขนิโรธคามินิปฏิปทา
ทุกข์ คือ ชาติ-ชรา-มรณะ-โสกะ-ปริเทวะ-ทุกข์
โทมนัส-อุปายาสะ ประสบสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก พลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก-ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมประสงค์-อุปาทานขันธ์ ๕
ตัณหา เมื่อจะเกิดย่อมเกิดขึ้น เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่อินทรีย์ ๖ อารมณ์ ๖ วิญญาณ ๖ ผัสสะ ๖ เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ ตัณหา ๖ วิตักก ๖ วิจาร ๖ ทุกขนิโรธ เมื่อบุคคลจะละ จะดับ ย่อมละย่อมดับได้ ณ ที่เกิด-ที่ตั้งอยู่ของตัณหา ดังกล่าวข้างบน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือมรรคมีองค์ ๘ สัมมาทิฏฐิ-สัมมาสมาธิ

ภิกษุพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ อันมี กาย-เวทนา จิต-ธรรมที่เป็นภายใน ภายนอก ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้างที่เกิดขึ้น เสื่อมไป ทั้งที่เกิดขึ้นทั้งเสื่อมไปบ้าง โดยมีสติเข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแต่เพียงสักว่ารู้ สักว่าอาศัยระลึก ย่อมไม่ติดอยู่ ไม่ยึดถืออะไรในโลก

พระพุทธเจ้าตรัสพระสูตรนี้ เมื่อเสด็จประทับอยู่ ในหมู่ชนชาวกุรุชื่อกัมมาสะธัมมะว่าเป็นทางอันเอก เป็นที่ไปของบุคคลผู้เดียว เพื่อความหมดจดของสัตว์ เพื่อก้าวล่วงความโศก ความร่ำไร เพื่ออัสดงดับไปแห่งกองทุกข์-โทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม (คืออริยมรรค) เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง

โยหิ โกจิ ภิกขเว ดูก่อนภิกษุ ท่านผู้ใดผู้หนึ่งก็ตาม ถ้าเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ (อย่างถูกต้อง) โดยใช้เวลานานถึง ๗-๖-๕-๔-๓-๒-๑-กึ่งเดือน หรือ ๗ วัน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ อย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน คือ
๑. จะต้องได้อรหันตผลในปัจจุบันชาตินี้
๒. ถ้าอุปทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ จะเป็นพระอนาคามีในปัจจุบันชาตินี้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-02-2019 เมื่อ 02:04
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 57 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา