ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 04-10-2022, 01:37
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,523
ได้ให้อนุโมทนา: 151,473
ได้รับอนุโมทนา 4,406,284 ครั้ง ใน 34,113 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ยิ่งสมาธิสูงมากเท่าไร สีสันของดอกมะลินั้นก็จะจางลงไปเรื่อย จากสีทองก็กลายเป็นเหลืองเข้ม จากเหลืองเข้มกลายเป็นเหลืองอ่อน จากเหลืองอ่อนกลายเป็นสีขาว จากสีขาวกลายเป็นขาวใส จากขาวใสกลายเป็นขาวสว่างเจิดจ้า ถ้าทำในลักษณะนี้ได้ แปลว่าเราทรงธัมมานุสติพร้อมด้วยกสิณ

หลังจากนั้นถ้าหากว่าใครจะปฏิบัติให้มากกว่านั้น ก็ตั้งภาพกสิณในธัมมานุสติ ก็คือดอกมะลิแก้วในพานนี้ขึ้นมา แล้วเพิกภาพนั้นเสีย ตั้งใจระลึกถึงความว่าง ไม่มีขอบเขตของอากาศ ภาวนาว่า "อากาสา อนันตา อากาสา อนันตา" จนทรงสมาธิได้เต็มที่ ท่านทั้งหลายก็จะสำเร็จฌานที่ ๕ ซึ่งเป็นอรูปฌานที่ ๑ ในธัมมานุสติกรรมฐาน คือ อากาสานัญจายตนฌาน

ถ้ายังไม่พอใจแค่นี้ ก็ให้กำหนดภาพดอกมะลิแก้วในพานขึ้นมาใหม่ ตั้งใจเพิกภาพนั้นทิ้งเสีย กำหนดใจนึกถึงความว่าง ไร้ขอบเขตของอากาศแล้ว เพิ่มเนื้อหาเข้าไปว่า อากาศนี้ถึงจะกว้างขวาง ไม่มีประมาณ แต่ยังสามารถกำหนดได้ด้วยความรู้สึกของเรา คือวิญญาณ แปลว่าความกว้างขวางไร้ขอบเขตของวิญญาณนั้นมีมากกว่า ให้ภาวนาว่า "วิญญานัง อนันตัง วิญญานัง อนันตัง" ว่าไปเรื่อย ๆ จนทรงสมาธิได้เต็มที่ เราก็จะสำเร็จสมาบัติที่ ๖ ก็คืออรูปฌานที่ ๒ ในธัมมานุสติกรรมฐาน เรียกว่า วิญญาณัญจายตนฌาน

ถ้ายังไม่เพียงพอแค่นี้ ก็กำหนดภาพดอกมะลิแก้วในพานขึ้นมาใหม่ ตั้งใจเพิกภาพ ก็คือสลัดทิ้งไปเลย ระลึกถึงความกว้างขวางไร้ขอบเขตของอากาศ การที่สภาพจิตใจของเราสามารถที่จะครอบคลุมเขตของอากาศ คือวิญญาณความรู้สึกได้ แล้วระลึกต่อไปว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในร่างกายนี้ ท้ายสุดก็สูญสลาย ไม่เหลืออะไรเลยแม้แต่น้อยหนึ่ง ร่างกายก็ไม่มี อากาศก็ไม่มี วิญญาณก็ไม่มี อะไรสักนิดหนึ่งก็ไม่มี แล้วภาวนาว่า "นัตถิ กิญจิ นัตถิ กิญจิ" ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งทรงสมาธิได้เต็มที่ ท่านก็จะสำเร็จสมาบัติที่ ๗ ก็คืออรูปฌานที่ ๓ ในธัมมานุสติกรรมฐาน เรียกว่า อากิญจัญญายตนฌาน

ถ้ายังไม่พอใจ เราก็กำหนดภาพดอกมะลิแก้วขึ้นมาใหม่ ตั้งใจกำหนดเพิกภาพ ก็คือให้หายไป กำหนดความรู้สึกไปในความว่างของอากาศ ในความกว้างขวางไร้ขอบเขตของวิญญาณ ในความไม่มีอะไรเหลืออยู่แม้แต่น้อยหนึ่ง สิ่งหนึ่งประการใดที่เกิดขึ้นกับร่างกายนี้ เราก็ไม่ใส่ใจ ภาวนาว่า "เอตัง สันตัง เอตัง ปะณีตัง เอตัง สันตัง เอตัง ปะณีตัง" นึกอยู่ในลักษณะอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ เมื่อกำลังใจของเราทรงตัวเต็มที่แล้ว ก็จะได้สมาบัติที่ ๘ หรืออรูปฌานที่ ๔ ในธัมมานุสติกรรมฐาน เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-10-2022 เมื่อ 02:28
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา