ดูแบบคำตอบเดียว
  #647  
เก่า 16-09-2020, 20:47
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,548 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

การกัปปิยะ

กัปปิยะ หมายถึง สิ่งของเครื่องใช้ที่สมควรแก่สมณะ พระภิกษุ สามเณร บริโภคใช้สอยได้ไม่ผิดพระวินัย เรียกเต็มว่ากัปปิยภัณฑ์ ได้แก่ปัจจัย ๔ คือ ผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค อาหารที่ถวายพระนั้นถ้ามีเนื้อสัตว์ ก่อนจะถวายต้องทำให้สุกด้วยไฟเสียก่อน เช่น ต้ม ทอด ย่าง สำหรับผักหรือผลไม้ที่นำมาถวาย พวกมีเมล็ดแก่ที่สามารถนำไปปลูกให้งอกได้ เช่น ส้ม แตงโม มะเขือเทศสุก พริก หรือมีส่วนอื่นที่นำไปปลูกได้ ไม่ว่าจะเป็นราก ลำต้น หัว เช่น ผักบุ้ง ใบโหระพา หัวหอม ขิง ตะไคร้ เป็นต้น จะต้องทำวินัยกรรมที่มักเรียกว่า “กัปปิยะ” เสียก่อน พระจึงฉันได้ (พระวินัยห้ามภิกษุพรากของเขียว คือ ตัดต้นไม้ เด็ดใบไม้นั่นเอง ซึ่งรวมไปถึงผลไม้หรือลำต้นที่สามารถนำไปปลูกให้งอกได้)

พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้บริโภคผักผลไม้ ด้วยสมณกัปปะกรรมที่ควรแก่สมณะ ๕ คือ ผลจดด้วยไฟ ผลจดด้วยศัสตรา ผลจดด้วยเล็บ ผลไม้ไม่มีพืช และผลที่พืชจะพึงปล้อนเสียได้

เมื่อจะบริโภคพึงบังคับอนุปสัมบันว่า “กัปปิยัง กะโรหิ” ท่านจงทำกัปปิยะดังนี้เสีย แล้วจึงบริโภค เมื่อเป็นเช่นนี้ชื่อว่าให้พ้นจากพีชคาม ปิยการก (ผู้ทำกัปปิยะ) จะตอบท่านว่า “กัปปิยัง ภันเต”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-09-2020 เมื่อ 21:57
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 21 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา