ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 31-07-2021, 23:43
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,495
ได้ให้อนุโมทนา: 151,165
ได้รับอนุโมทนา 4,405,514 ครั้ง ใน 34,084 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔ เมื่อสักครู่ที่ฟังการทำวัตร ปลัดตั้ม (พระปลัดอาทิตย์ ชุตินฺธโร) ก็ยังคงกลับไปหาจังหวะเดิม ๆ คือจังหวะชักกะตุกแบบนี้ คนสวดตามจะเหนื่อยมาก แต่ด้วยความที่ท่านเคยชินกับการหายใจช่วงสั้น ๆ ท่านก็จะไม่รู้สึก แต่คนที่ไม่ชินตามจังหวะ แค่ได้ยินก็เหนื่อยแล้ว แต่คราวนี้ถ้าจะลบล้างความเคยชินตรงนี้ เมื่อสักครู่ตอนขึ้นจุลชัยยะมังคลคาถา ผมก็คิดว่าดีแล้ว เพราะว่าเหมือนกับแก้ไขได้ "นะโม เม พุทธะ เตชะสา..." แล้วทำไมได้ไม่ตลอด ? จังหวะการสวดที่ดีก็คือจังหวะอย่างนี้แหละ

มีวิธีแก้อีกวิธีหนึ่ง ก็คือต้องจินตนาการไปด้วย ว่าเราจะต้องไม่ใช่ลูกคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง เพราะว่าถ้าซัดกระแทกโครม ๆ แบบนั้น เดี๋ยวปราสาททรายก็พังหมด ทำอย่างไรที่เราจะเป็นแม่น้ำลำธารเล็ก ๆ ที่ไหลเอื่อย ๆ ไปเรื่อย โดยที่ไม่เซาะให้ปราสาททรายพัง เพราะว่าถ้าเราไม่มีจินตภาพประกอบขึ้นมา บางทีอาศัยการแก้ไขความเคยชินอย่างเดียวจะแก้ยากมาก

แต่จะว่าไปแล้ว ถึงจะยากก็ไม่ได้เกินความพยายาม เพียงแต่ว่าบางอย่างเป็นมาตั้งแต่เด็ก ก็คงแบบเดียวกับที่จะให้มหากว้าง (พระมหากว้าง ญาโณ) สวดโดยหายใจทางปาก ก็จะยากมาก แต่ถ้าหากว่า มหากว้างสวดโดยหายใจทางจมูก ท่านจะไปได้สบาย แต่คนอื่นฟังแล้วเครียด..!

ก่อนหน้านี้ท่านอั๋น (พระอัศนีย์ โฆสทินฺโน) ก็เหมือนกัน เพราะว่าท่านอั๋นอยู่กับพระธรรมยุตมามาก เคยชินกับการสวดแล้วออกเสียงแบบธรรมยุต แต่ท่านอั๋นปรับตัวได้เร็ว พอบอกไปครั้งเดียวก็ปรับตัวได้เลย แสดงว่าสติมั่นคงมาก จากการที่กลึงลูกประคำ ใช้เครื่องปั่นอยู่ทุกวัน ๆ สมาธิจับเป๊ะอยู่ตรงนั้น

ในเมื่อเป็นในลักษณะนั้น กำลังสมาธิที่ได้มา พอถึงเวลาเราแค่มาระมัดระวังจังหวะการสวดของเรา ระวังสำเนียงการสวดของเรา ใช้สมาธิน้อยกว่าตอนที่ไปกลึงหรือว่าขัดลูกประคำ เพราะว่าโอกาสที่พลาดแล้วจะเจ็บตัวแบบนั้นไม่มี ในเมื่อเคยใช้กำลังสมาธิ ใช้ความระมัดระวังที่มากกว่า เมื่อมาถึงเวลามาแก้ไขของเรา ก็ทำให้งานด้านนี้ง่ายขึ้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-08-2021 เมื่อ 02:24
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 40 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา