ดูแบบคำตอบเดียว
  #5  
เก่า 29-01-2010, 18:01
ตาตั้ม ตาตั้ม is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 19
ได้ให้อนุโมทนา: 53,283
ได้รับอนุโมทนา 23,990 ครั้ง ใน 876 โพสต์
ตาตั้ม is on a distinguished road
Default

ส่วนพระเนื้อโลหะที่น่าสนใจศึกษาเป็นอันดับสอง คือ เนื้อสัตตโลหะ หมายถึง โลหะผสม ๗ ชนิด อันประกอบด้วย

๑. เหล็ก
๒. ปรอท
๓. ทองแดง
๔. เงิน
๕. ทองคำ
๖. จ้าวน้ำเงิน
และ ๗. บริสุทธิ์

ตามอัตราส่วนของแต่ละตำรา และวัสดุที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น อาวุธที่เป็นเนื้อสัตตโลหะ จะมีปริมาณของแร่เหล็กมากกว่าแร่ชนิดอื่น เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีพระที่สร้างจากโลหะ ๕ ชนิด ที่เรียกว่า เบญจโลหะ หมายถึงโลหะผสม ๕ ชนิด อันประกอบด้วย

๑. เหล็ก
๒. ปรอท
๓. ทองแดง
๔. เงิน
และ ๕. ทองคำ

อัตราส่วนตามความเหมาะสมของวัตถุที่สร้าง แต่โลหะหนักส่วนมากมักจะเป็นเหล็ก เพราะเหล็กมีราคาถูกกว่าโลหะชนิดอื่น ๆ

พระเนื้อทองเหลือง นับเป็นโลหะผสมที่นิยมใช้กันมากในยุคหลัง ๆ ซึ่งเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี และอาจจะมีธาตุอื่นปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย เช่น ตะกั่ว ดีบุก อะลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีส นิเกิล เป็นต้น

พระเนื้อบรอนซ์ เป็นชื่อดั้งเดิมของโลหะผสม ระหว่างดีบุกกับทองแดง ปัจจุบันหมายถึงโลหะผสมระหว่างทองแดงกับโลหะอื่น ๆ ยกเว้นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี ซึ่งจะเป็นทองเหลือง ไม่ใช่บรอนซ์

พระเนื้อเมฆพัด เป็นโลหะผสมที่เกิดจากการนำแร่โลหะต่าง ๆ หลายชนิด อาทิ เหล็ก ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว เงิน ทองคำ เป็นต้น จะเป็นปริมาณเท่าใด หรือใช้กี่ประเภท ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สร้าง ระหว่างหุงแร่จะซัดด้วยกำมะถัน จนเกิดเป็นสีดำมันวาว ออกเหลือบสีน้ำเงิน

พระเนื้อเมฆสิทธิ์ นับเป็นโลหะผสมที่มีความคล้ายคลึง และเป็นคู่แฝดกับเนื้อเมฆพัด กรรมวิธีการสร้างก็คล้ายกัน
__________________
"คุณากโร....ผู้ทรงความดี"

"ตั้งใจทำอะไรก็ทำให้จริง ชนิดที่ว่าเอาให้ตายไปเลย ต้องมีความอดทนให้มาก อย่าทำเหมือนกับแก้บน ไหว้ครูแล้ว ถ้าไม่จริงจัง ไหว้อีกร้อยครั้ง ก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา"

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-01-2010 เมื่อ 03:30
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 90 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ตาตั้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา