ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 08-05-2021, 22:03
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,488
ได้ให้อนุโมทนา: 151,147
ได้รับอนุโมทนา 4,405,369 ครั้ง ใน 34,077 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น..หลายคนที่ไม่เอาเรื่องของระเบียบเรื่องของวินัย อย่างที่เขามาวัดท่าขนุน ตั้งใจจะหาหลวงพ่อให้ได้อย่างเดียว โดยที่ไม่ยอมรับกฎเกณฑ์ว่า จะต้องพบได้เวลานั้นเวลานี้ อ้างอย่างเดียวว่าตนเองมีศรัทธา บุคคลประเภทนี้น่าสงสารมาก เพราะไม่รู้ว่าข้อผิดพลาดบกพร่องของตนเองอยู่ตรงไหน แล้วมีโอกาสที่จะไปละเมิดกฎเกณฑ์กติกาที่ร้ายแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ

ถ้าลักษณะอย่างนั้น สภาพจิตของเราที่หยาบอยู่ ก็จะมีการละเมิดสิกขาบท หรือศีลที่ตนเองรักษา เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ทำให้ห่างไกลมรรคผลไปเรื่อย เพราะว่าหลักธรรมของพระพุทธเจ้านั้น เมื่อฝึกปฏิบัติไปแล้ว ย่อมเกิดความสันโดษ ภาษาบาลีเรียกว่า สันตุฏฐิตา คือความยินดีตามมีตามได้ พอใจกับสิ่งต่าง ๆ ที่ตนได้ตนมี ไม่ดิ้นรนไปแสวงหาเครื่องอำนวยความสุขความสบาย ซึ่งจะเพาะกิเลสให้เกิดกับตนเองเพิ่มขึ้น

ระดับต่อไปคือ สัลเลขตา หลักธรรมในพุทธศาสนานั้น ขัดเกลาทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจของเรา ผู้ปฏิบัติไปถ้าหากว่าไม่สามารถขัดเกลา กาย วาจา ใจ ของตนเองให้ดีขึ้น แสดงว่ามาผิดทาง แล้วถามว่าทางอะไร ? ก็คือมรรค ๘ ประการ

ลำดับต่อไปท่านว่า ปวิเวกตา ก็คือยินดีในที่สงัด ถ้าหมดกิจภาระที่เกี่ยวเนื่องด้วยหน้าที่รับผิดชอบของตนแล้ว ก็ปลีกตัวออกจากหมู่ ตั้งหน้าตั้งตารักษาสภาพจิตให้สงบระงับ ขัดเกลากิเลสของตนเอง

ข้อสุดท้ายคือ อัปปิจฉตา เป็นผู้มักน้อย ตรงนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำแก่พระมหาโมคคัลลานะว่า จงอย่าชูงวงเข้าไปในสกุล ถ้าช้างชูงวงขึ้นก็จะโดดเด่นมาก แต่เป็นการอวดตัวเอง ถ้าหากว่าเป็นพระอนุรุทธเถระ ที่ท่านรำพึงในมหาปุริสวิตก ๘ ประการว่า ขอจงอย่าได้มีคนรู้จักเราเลย
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 09-05-2021 เมื่อ 02:46
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา