ดูแบบคำตอบเดียว
  #7  
เก่า 31-05-2021, 01:05
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,909 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ข้อต่อไป ในระหว่างการฝึกสมาธิ เราจะเจออุปสรรค ๓ หมวดต่อไปนี้คือมาร ๕ นิวรณ์ ๕ ปีติ ๕ แต่ในส่วนของวิปัสสนา เราต้องเจออุปสรรคอะไรบ้าง ? จะมีอุปกิเลส ๑๖ อนุสัย ๗ หรืออย่างอื่นอีกหรือไม่ ?

ข้อนี้ต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า อุปสรรคใหญ่ในการฝึกสมาธิคือนิวรณ์ ๕ ส่วน มาร ๕ นี่เราเจอตลอดทั้งชีวิตชาตินี้และชาติต่อ ๆ ไป ถ้าไม่สามารถหลุดพ้นได้ ส่วนปีติไม่ใช่อุปสรรคในการฝึกสมาธิ แต่เป็นอุปกิเลสของวิปัสสนาญาณ ดังนั้น..ตรงจุดนี้ถ้าเอามาปนกันจะมั่วไปหมด ต้องแยกให้ดีครับ

ในส่วนของการทำวิปัสสนานั้น อุปสรรคใหญ่ที่สุดเลยก็คือสมาธิไม่พอ ทำให้ปัญญามีกำลังไม่พอที่จะตัดกิเลส นี่พูดกันแบบง่ายที่สุด ไม่เอาตามตำรา เพราะว่าถ้าสมาธิเราไม่พอ จิตไม่สงบไม่นิ่ง ไม่ได้ระดับ ปัญญาก็ไม่เกิด หรือเกิด ก็ไม่พอที่จะตัดกิเลส

ในเบื้องต้นถ้าหากว่าท่านได้สมาธิ ก็คือปฐมฌานละเอียด จะมีกำลังตัดกิเลสได้แค่ระดับพระโสดาบัน และถ้าละเอียดจริง ๆ ตัดได้ถึงระดับสกทาคามี แต่ถ้าระดับอนาคามีขึ้นไปต้องฌาน ๔ ละเอียดครับ ไม่อย่างนั้นแล้วกำลังจะไม่พอตัดกิเลส

ในส่วนนี้พวกเราก็เลยต้องมาทำความเข้าใจว่า อุปสรรคของวิปัสสนา ส่วนใหญ่แล้วก็คือ พวกเราเคยชินกับภาวนาแล้วไม่ยอมพิจารณา เมื่อพิจารณา สมาธิก็ไม่พอใช้งาน ปัญญาก็เลยไม่เพียงพอที่จะตัดกิเลส ต้องเอาง่าย ๆ อย่างนี้ ถ้าว่ากันตามตำรามากไป เดี๋ยวปวดหัว..เครียดอีกต่างหาก

คราวนี้ในส่วนของอุปกิเลสนั้น ถ้ารู้ไว้บ้างก็ดี คำว่า อุป แปลว่า เข้าไปใกล้ อุปกิเลส ใกล้จะเป็นกิเลสครับ ยังไม่ใช่กิเลสโดยตรง จนกว่าเราจะไปยึดมั่นถือมั่นตรงนั้นเมื่อไรถึงจะเป็นกิเลส ประกอบไปด้วยโอภาส เกิดแสงสว่างขึ้นในระหว่างที่เราปฏิบัติภาวนา บางสำนักที่เขาเรียกผู้นำว่า "พ่อท่าน..ท่าน
พ่อ" นั่นแหละ ผู้นำของเขาบอกว่ายืนปัสสาวะอยู่ เกิดแสงสว่างทั่วไปหมด ก็เลยมั่นใจว่าตัวเองบรรลุแล้ว อย่างนี้ก็กลายเป็นกิเลส

ปีติ เกิดความอิ่มอกอิ่มใจอยากจะปฏิบัติไม่เบื่อไม่หน่าย ตรงจุดนี้่ดีครับ เสริมการปฏิบัติ แต่ต้องรู้จักมัชฌิมาปฏิปทา ก็คือความพอเหมาะพอควร ไม่อย่างนั้นแล้ว ถ้ามากจนเกินไป ร่างกายไม่ไหว ก็กรรมฐานแตก สมาธิตกได้ง่าย ๆ

ปัสสัทธิ ความสงบระงับ รัก โลภ โกรธ หลง หายเงียบไปเลย หลายรายเข้าใจว่าตัวเองบรรลุแล้ว ตัวอย่างก็คือทิดโจ๊กกับลูกเกด ที่มานั่งเถียงกับผมว่า คนเป็นพระอรหันต์ไม่เห็นจำเป็นจะต้องตายภายใน ๗ วันเลย เพราะว่าเขาสองคนก็เป็นแล้ว รัก โลภ โกรธ หลง ไม่มีมาเป็นเดือน ๆ แล้ว ปัจจุบันนี้ก็เลยเลี้ยงลูกไป ๕ คน..! ความสงบระงับเราต้องระมัดวังนะครับ ไม่อย่างนั้นจะไปเข้าใจผิดว่าเราบรรลุแล้ว

สุข คำว่าสุขในที่นี้ ก็คือความสุขที่ รัก โลภ โกรธ หลง ซึ่งเป็นไฟใหญ่ ๔ กองดับลงชั่วคราว ทำให้เย็นกายเย็นใจอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน หลายท่านก็ไปเข้าใจว่าบรรลุแล้วเช่นกัน แล้วก็ไม่ทำต่อ ทำให้เสียประโยชน์เอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 31-05-2021 เมื่อ 18:42
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 35 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา