ดูแบบคำตอบเดียว
  #6  
เก่า 24-08-2009, 00:58
ป้านุช's Avatar
ป้านุช ป้านุช is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
สถานที่: Bangkok Thailand
ข้อความ: 866
ได้ให้อนุโมทนา: 21,453
ได้รับอนุโมทนา 109,675 ครั้ง ใน 2,785 โพสต์
ป้านุช is on a distinguished road
Smile

ดังเรื่องราวของพระกุณฑลเกสีเถรี

ซึ่งได้บวชเป็นภิกษุณี ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังดำรงพระชนมชีพอยู่
ในพระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๓๓/๒ หน้าที่ ๑๓ ในกุณฑลเกสี วรรคที่ ๓ มีความว่า

ในภพนี้ ดิฉันเกิดในสกุลเศรษฐีในพระนครราชคฤห์
เมื่อเป็นสาวได้เห็นราชบุรุษนำโจรไปเพื่อจะฆ่า มีความรักในโจรนั้น
ต้องการที่จะได้โจรเป็นคู่ครอง จึงขอร้องบิดาให้ช่วยโจร
บิดาจึงไปไถ่ตัวโจรมาจากราชบุรุษด้วยทรัพย์หนึ่งพันกหาปนะ (หน่วยเรียกเงินอินเดียในสมัยนั้น)

ดิฉันรักใคร่โจรมาก ต่อมาโจรมีความโลภต้องการทรัพย์สินเครื่องประดับของดิฉัน
จึงออกอุบายบอกดิฉันว่าจะต้องไปบวงสรวงเทวดาที่เหวทิ้งโจร
ดิฉันช่วยขนเครื่องบวงสรวงไปที่เหวทิ้งโจรกับโจรเพียงสองคน ไม่มีทาสตามไปด้วย
เมื่อโจรคิดจะฆ่า ดิฉันจะรักษาชีวิตของตัวไว้ จึงประนมมือไหว้โจรผู้เป็นศัตรูเป็นอย่างดีแล้วกล่าวว่า

“นายผู้เจริญ สร้อยทองคำ แก้วมุกดาและแก้วไพฑูรย์เป็นอันมากทั้งหมดนี้
ท่านเอาไปเถิด อย่าฆ่าฉันเลย”

โจรกล่าวว่า “ จงตายเสียเถิด อย่ามัวรำพันนักเลย เราต้องการจะฆ่านาง”

ดิฉันจึงตอบว่า “ตั้งแต่ฉันได้เห็นท่าน ฉันก็ไม่เคยรักใครมากกว่าท่านเลย
มาเถิด ฉันจักขอกอดท่าน ทำความเคารพแล้วจะไหว้ท่านทั้งสี่ทิศ

(คือไหว้ข้างหน้า ข้างขวา ข้างซ้าย และข้างหลัง)เพราะท่านกับดิฉันจะไม่ได้อยู่ร่วมกันอีกต่อไป”

โจรก็ยืนให้ไหว้ พอโจรเผลอ ดิฉันก็ผลักโจรตกเหวไป ดิฉันฆ่าโจรได้ในครั้งนั้น
ก็เพราะเนื่องด้วยมีสติเต็มอยู่ในจิต เมื่อมีสติก็จะมีปัญญาคิดในเรื่องนั้น
และหาทางออกได้อย่างรวดเร็ว ผู้ใดไม่รู้จักเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
ผู้นั้นมีปัญญาเขลา ย่อมถูกเขาฆ่าเหมือนโจรที่ถูกฆ่าที่เหวทิ้งโจร

พระกุณฑลเกสีเถรียังกล่าวต่อไปอีกว่า
“ในที่ทุกแห่ง ใช่ว่าบุรุษเท่านั้นจะเป็นบัณฑิต ถึงสตรีก็เป็นบัณฑิตเฉลียวฉลาดได้เช่นเดียวกัน
และในที่ทุกแห่ง ใช่ว่าบุรุษเท่านั้นจะเป็นบัณฑิตคิดความได้ว่องไว ใช่ว่าบุรุษจะคิดเหมาะสมในเรื่องเดียวเร็วพลัน
สตรีก็มีความสามารถเช่นเดียวกัน ฉะนั้น ผู้ใดรู้จักเรื่องที่เกิดขึ้นได้ว่องไว ผู้นั้นก็พ้นจากพวกศัตรู
เหมือนดิฉันพ้นจากโจรที่เป็นศัตรูในครั้งนั้น”


การสาธยายพระไตรปิฎก
นอกจากจะยังประโยชน์โดยตรงให้กับผู้สาธยายแล้ว แม้ผู้ที่ไม่สามารถจะสาธยายได้
แต่อาศัยเพียงจิตสงบ น้อมฟังพระธรรมก็สามารถสำเร็จประโยชน์อันหาประมาณมิได้เช่นกัน


ดังเช่น ค้างคาวหนู ๕๐๐ ตัวที่ห้อยอยู่ที่เงื้อมเขาแห่งหนึ่ง ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ
ครั้งนั้นได้มีพระเถระ ๒ รูปจงกรมแล้วท่องพระอภิธรรมอยู่ในบริเวณนั้น
ค้างคาวเป็นสัตว์ดิรัจฉานไม่รู้ภาษามนุษย์ ไม่รู้ว่า “เหล่านี้ชื่อว่า ขันธ์ เหล่านี้ชื่อว่า ธาตุ”

ด้วยเหตุว่าถือเอานิมิตในเสียงของพระเถระทั้งสองเท่านั้น จุติจากการเป็นค้างคาวนั้นพร้อมกัน
แล้วเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติสิ้นพุทธันดรหนึ่ง
จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว เกิดเป็นมนุษย์ในกรุงสาวัตถีเกิดความเลื่อมใสในยมกปาฏิหาริย์
(พระพุทธเจ้าทรงแสดงก่อนที่จะเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาที่ดาวดึงส์ในพรรษาที่ ๗)
บวชในสำนักของพระสารีบุตรทั้ง ๕๐๐ คน และเมื่อพระสารีบุตรได้แสดงพระอภิธรรมแล้ว
พระภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูป ก็ได้เป็นผู้ชำนาญในปกรณ์ ๗ (พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์) และบรรลุพระอรหันต์

(อรรถกถา ฉบับธรรมทาน เล่ม ๔๒ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต หน้า ๓๑๕)
__________________
เสียงธรรมจากพระองค์ที่ ๑๐
ธรรมพระพุทธเจ้า คือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทุกคนก็มีอยู่ในตัวเอง
เพราะฉะนั้นเธอก็มีธรรมะ ฉันก็มีธรรมะ เธอกับฉันมีธรรมเสมอกันคือความตาย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ป้านุช : 29-08-2009 เมื่อ 16:52
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 74 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ป้านุช ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา