ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 29-05-2021, 23:31
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,459
ได้ให้อนุโมทนา: 151,110
ได้รับอนุโมทนา 4,400,209 ครั้ง ใน 34,048 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า พี่น้องมอญพม่าที่มาบ้านเรา ก็เหมือนกับสมัยก่อนที่คนจีนมาแบบเสื่อผืนหมอนใบ ก็คือต้องขยันขันแข็งถึงจะเอาตัวรอดได้

แล้วพี่น้องมอญพม่ามีค่านิยมอยู่อย่างหนึ่ง เนื่องจากการปกครองในบ้านเมืองของตนเองไม่เหมือนที่อื่น เพราะว่าอยู่ใต้การปกครองของรัฐบาลทหารมาเกิน ๔๐ - ๕๐ ปี วันดีคืนดีทหารก็ยกเลิกเงิน เปลี่ยนมาใช้เงินรุ่นใหม่ เงินรุ่นเก่าก็กลายเป็นเศษกระดาษไม่มีราคา พี่น้องมอญพม่าก็เลยเคยชินกับการที่ทำงานได้เงินแล้วซื้อทองเก็บไว้ พอซื้อทองสลึงหนึ่งก็ซื้อสลึงหนึ่ง พอซื้อทอง ๕๐ สตางค์ก็ซื้อ ๕๐ สตางค์ พอซื้อทองหนึ่งบาทก็ซื้อบาทหนึ่ง ตรงจุดนี้ทำให้ทุกคนมีเงินออมที่มั่นคงมาก

คนไทยของเราไม่มีตรงจุดนี้ ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้เงินแบบไม่คิด แล้วจำนวนมากด้วยกันก็เป็นหนี้บัตรเครดิต และที่จำนวนมากกว่านั้นก็คือมีบัตรเครดิตมากกว่า ๑ ใบ รูดเงินจากบัตรใบที่ ๒ มาโปะใบที่ ๑ รูดเงินจากบัตรใบที่ ๓ มาโปะใบที่ ๒ ท้ายสุดก็เป็นหนี้ท่วมหัว ขาดหลักสันโดษในการดำเนินชีวิตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

หลักสันโดษขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เปลี่ยนมาใช้คำว่า "พอเพียง" พระองค์ท่านพยายามที่จะบอกกล่าวพวกเราว่า พอเพียงไม่ได้แปลว่าจน เพราะว่าหลักสันโดษนั้นมี ยถาลาภสันโดษ ยินดีตามที่ได้มา ยถาพลสันโดษ ยินดีตามกำลังของตนที่หาได้ ถ้าไปบอกตระกูลสิริวัฒนภักดีหรือว่าตระกูลเจียรวนนท์ ระดับเขาหาได้เป็นหมื่นเป็นแสนล้าน ยืนยันได้ว่าหลักสันโดษไม่ใช่จน

สำคัญอยู่ตรงข้อสุดท้าย ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามฐานะของตน คนไทยเราส่วนใหญ่ขาดข้อสุดท้ายนี้มาก ใช้จ่ายเงินเกินตัว กู้เงินทุกรูปแบบที่กู้ได้ เพื่อที่จะเสาะหาสิ่งต่าง ๆ มาเป็นหน้าเป็นตาของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นรถ เป็นของใช้แบรนด์เนม เป็นโทรศัพท์มือถือรุ่นล่าสุด แล้วก็เป็นหนี้เป็นสินกันรุงรัง

ถ้าหากว่าเราเชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องนี้จะไม่มี พระพุทธเจ้าตรัสถึงหลักโภควิภาค คือการแบ่งทรัพย์สินเอาไว้ เมื่อหาได้มาแล้ว พระองค์ท่านตรัสว่า

เอเกนะ โภเค ภุญเชยยะ ๑ ส่วนเอาไว้ใช้เลี้ยงตนเองและครอบครัว ทวีหิ กัมมัง ปะโยชะเย ๒ ส่วนใช้ในการลงทุนให้เกิดดอกเกิดผล ก็คือใช้ในหน้าที่การงานที่เราจะต้องทำ จะตุตถัญจะ นิธาเปยยะ ส่วนที่ ๔ เก็บเอาไว้ในลักษณะของทรัพย์สินที่เอาไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ซึ่งก็คือเงินออม
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 31-05-2021 เมื่อ 16:54
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา