ดูแบบคำตอบเดียว
  #62  
เก่า 14-09-2012, 13:18
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,385
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,236 ครั้ง ใน 35,988 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

พระอาจารย์กล่าวว่า "ภูมิก็คือที่อยู่ของสัตว์ ภูมิที่ใกล้ชิดกับมนุษย์ที่สุดก็พวกเดรัจฉาน เพราะเราเห็นด้วยตาเปล่า แต่มีเดรัจฉานบางประเภทที่เป็นโอปปาติกะ ถ้าเขาไม่ตั้งใจแสดงให้เราเห็น เราก็เห็นไม่ได้ อย่างพวกครุฑ นาค เป็นต้น

คราวนี้ศัพท์ ติรฉานะ แปลว่า ผู้ยินดีโดย ๓ ประการ แต่ขณะเดียวกันบางท่านก็แปลว่า ผู้ไปโดยขวาง ก็คือไม่ได้เดินตัวตรง ตัวต้องขนานไปกับโลก

การยินดีใน ๓ ประการคืออะไร ? คือ การกิน การนอน การสืบพันธุ์ ๓ อย่างเท่านั้น คำว่า ติ ในบาลีคือ ตรง ๆ อยู่แล้ว แต่คราวนี้ศัพท์ที่เขานิยมกันว่าไปโดยขวาง อาตมาก็สงสัยว่าเขาเอารากศัพท์มาจากไหน ?

ภูมิของสัตว์เดรัจฉาน
มีกำเนิด ๔ อย่างครบถ้วนเลย คือ ชลาพุชะ เกิดในมดลูก ส่วนใหญ่ก็พวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อัณฑชะ เกิดจากฟองไข่ ไข่ออกมาก่อนฟักเป็นตัวทีหลัง จนกระทั่งบางคนเขาเรียกว่า ทวิชาติ คือ เกิด ๒ ครั้ง เกิดเป็นไข่ครั้งหนึ่ง เกิดเป็นตัวครั้งหนึ่ง

สังเสทชะ เกิดในของสกปรก อย่างเช่น เชื้อโรค พยาธิ หนอน อีกพวกหนึ่งคือโอปปาติกะ ผุดขึ้นก็โตเลย อย่างพวกครุฑ นาค เป็นต้น ภูมิของสัตว์เดรัจฉานเป็นภูมิที่ใกล้ชิดมนุษย์ที่สุด เพราะส่วนใหญ่แล้วอยู่รวมกับพวกเรา สามารถเห็นได้ชัดเจนก็จริง แต่ถ้าเป็นพวกโอปปาติกะไม่ได้ตั้งใจแสดงให้เราเห็น เราก็ไม่เห็น หรือถึงเขาตั้งใจแสดงให้เห็น เราก็ไม่รู้จัก อย่างพญานาค เวลาเขามาแสดงให้เห็นก็ตัวเล็ก ๆ แต่ตัวจริงขนาดมหึมามโหฬาร"
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-09-2012 เมื่อ 13:29
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 213 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา