
19-07-2012, 13:12
|
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
|
|
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 662
ได้ให้อนุโมทนา: 26,546
ได้รับอนุโมทนา 89,686 ครั้ง ใน 1,263 โพสต์
|
|
พระปัจเจกพุทธเจ้า (ต่อ)
เมื่อแผนงานทุกอย่างลงตัว จึงได้ออกแบบพระปัจเจกพุทธเจ้า และนำเข้ากราบเรียนขออนุญาตสร้าง ซึ่งหลวงพ่อก็อนุญาต พร้อมทั้งเมตตาแนะนำแก้ไขแบบให้ถูกต้อง คณะดำเนินงานทุกรูปแทบตัวลอยด้วยความยินดี เห็นผลสำเร็จอยู่แค่เอื้อม
แต่ว่าบุญมีแต่กรรมมักจะมาบังเสมอ คณะดำเนินงานจะว่าไปแล้วก็ยังเป็นพระที่มีอาวุโสพรรษาน้อย พอเริ่มงานได้ ๒ วันปรากฏว่า ทั้งเงินบริจาคและทองคำไหลมาเทมา ทำให้เกิดความริษยาขึ้นในหมู่ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในคณะทำงาน
ด้วยเกรงว่าถ้างานนี้สำเร็จผู้อื่นจะได้หน้า ท่านที่ไม่รู้จักริเริ่มจึงเอาเท้าราน้ำด้วยการวิพากษ์วิจารณ์กันไปใหญ่โต หาว่าตั้งสำนักซ้อนสำนัก เรี่ยไรเอาเข้าพกเข้าห่อของตน ทำให้หลวงพ่อต้องตัดไฟแต่ต้นลม ด้วยการระงับโครงการทั้งหมด
กลายเป็นว่าแทนที่จะช่วยแบ่งเบาภาระ พวกเรากลับเอาภาระไปเพิ่มให้หลวงพ่อ เพราะท่านรับเอาโครงการนี้ไปดำเนินการเอง จนสร้างเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งแบบพระพุทธ มีพระเกตุมาลาสองส่วนเป็นที่สังเกต และเป็นแบบพระสงฆ์หน้าตัก ๔ ศอก
เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นคาใจของหลวงตาวัชรชัยมาโดยตลอด จนกระทั่งท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูภาวนาพิลาศ รองเจ้าคณะอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จึงมีโอกาสได้สร้างรูปเหมือนพระปัจเจกพุทธเจ้า
โดยท่านสร้างเป็นรูปเหมือนขนาดหน้าตัก ๙ นิ้ว ด้วยทองคำ ๘ กิโลกรัม และสร้างรูปเหมือนลอยองค์และเหรียญพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วย แล้วนิมนต์คณะทำงานสมัยนั้นมา ร่วมพุทธาภิเษก มีหลวงพ่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ เป็นองค์ประธาน
งานพุทธาภิเษกมีขึ้นในวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙ พระปัจเจกพุทธเจ้าท่านเสด็จมาเอง และสั่งให้อาตมาสร้างรูปของท่านให้ญาติโยมได้บูชาด้วย โดยให้บูชาควบกับพระคาถาเงินล้าน เพื่อเสริมความคล่องตัวทางการเงินให้กับทุกคน
อาตมาเองคิดว่า ในเมื่อจะสร้างพระรวยโดยตรง ก็ควรทำด้วยวัสดุมีค่าเท่าที่จะพึงหาได้ จึงสร้างรูปหล่อลอยองค์ ขนาดหน้าตัก ๑ เซนติเมตร ด้วยเงินและทองคำเท่านั้น
โดยจ่ายค่าเม็ดเงินจำนวน ๕๐ กิโลกรัมไป ๗๖๒,๖๐๐ บาท
ค่าทองคำแท่ง ๑๐๕ บาท เป็นเงิน ๑,๑๗๐,๗๕๐ บาท
ค่าทองรูปพรรณ ๓ บาท เป็นเงิน ๓๔,๖๕๐ บาท
ค่าหล่อรูปเหมือนเนื้อเงิน ๔,๘๘๔ องค์ เป็นเงิน ๙๗,๖๘๐ บาท
ค่าหล่อรูปเหมือนเนื้อทองคำ ๒๔๖ องค์ ๔๙,๒๐๐ บาท
รวมจ่ายทั้งสิ้น ๒,๑๑๔,๘๘๐ บาท
โดยมีการบวงสรวง ๓ วาระด้วยกัน คือ
ครั้งแรกเป็นการบวงสรวงขออนุญาตสร้างเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๙
ครั้งที่ ๒ เป็นการบวงสรวงพุทธาภิเษกและทำการเป่ายันต์เกราะเพชร ในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ โดยนำเม็ดเงินและทองคำเข้าพิธีพุทธาภิเษกด้วย
ครั้งที่ ๓ เป็นการบวงสรวงพุทธาภิเษกและเป่ายันต์เกราะเพชร ในวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๐
โดยมีเรื่องที่น่ากล่าวถึงเป็นอย่างมากคือ พิธีหล่อในวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๐ ณ โรงหล่อช่างจ๋า ถนนพุทธมณฑล สาย ๔
__________________
ไม่ติดในสุข ไม่กังวลในทุกข์ วางเฉยในร่างกายนี้ ปล่อยวางภาระทั้งปวง ยอมรับกฎของกรรม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คิมหันต์ : 20-07-2012 เมื่อ 14:13
|