ช่วงนั้นเขามีการกระตุ้นอารมณ์ร่วมของชาวบ้าน โดยแต่งภาพศพที่แขวนคออยู่ให้หน้าตาเหมือนกับองค์รัชทายาท ชาวบ้านก็ยิ่งโกรธแค้นกันใหญ่ จึงสนับสนุนราชการให้จัดการขั้นเด็ดขาดกับพวกนักศึกษา ก็เลยมีการยกกองกำลังเข้าไปถล่มมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พวกนักศึกษาก็ต้องหนีเข้าป่า ในเมื่อสู้กันในเมืองไม่ได้ก็เลยหนีเข้าป่า จับอาวุธต่อต้านรัฐบาลอยู่หลายปี ลองคิดดูว่าจาก พ.ศ. ๒๕๑๙ ถึง พ.ศ. ๒๕๒๔ ตั้งกี่ปี ? ฆ่ากันเท่าไร ? สูญเสียงบประมาณและผู้คนไปเท่าไร ?
ตอนปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ก็อยู่ในลักษณะนี้ เขาปฏิวัติแล้วตอนแรกก็ยังอาย ๆ อยู่ ไม่กล้าเป็นนายกรัฐมนตรี ไป ๆ มา ๆ พอโดนยุ มีความรู้สึกว่าตนเองมีอำนาจอยู่ในมือ หัวหน้าปฏิวัติจึงขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ชาวบ้านรับไม่ได้ก็มีการประท้วง ราชการก็เอากำลังทหารจะไปปราบชาวบ้านอีก แต่ว่าทหารตำรวจส่วนหนึ่งไม่ให้ความร่วมมือ อย่างเช่นทหารเรือ แม้ว่ายกกำลังออกไปก็จริง แต่พอชาวบ้านหนี ทหารก็เปิดทางให้
นอกจากนี้ก็มีการปล่อยข่าวเป็นปฏิบัติการทางจิตวิทยาว่า ชาวบ้านสนับสนุนเขามาก ใครไม่เชื่อให้ออกมาดูว่าชาวบ้านทั้งกรุงเทพฯ ให้การสนับสนุนคณะปฏิวัติ ถ้าเราโง่ไปออกดูก็แปลว่าออกไปสนับสนุนเขาไปโดยปริยาย
เรื่องของข่าว ถ้าเราฟังดูจะต้องใช้สติสัมปชัญญะให้มากเข้าไว้ ถ้าใครยึดคุมการข่าวหรือสื่อมวลชนเอาไว้ได้ จะเป็นฝ่ายชนะเสียส่วนมาก มีอยู่ครั้งเดียวที่ฝ่ายยึดคุมการข่าวไม่สามารถชนะได้ ก็คือช่วงเมษาฮาวาย ปี ๒๕๒๔ ตอนนั้นจะไปโทษใครไม่ได้หรอก ต้องบอกว่าคนสั่งการไม่เคยชินกับการเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา เพราะเขาเป็นเจ้านายเอาแต่สั่งอย่างเดียว ให้เอาพลทหารไปคุมป๋าเปรม
ตอนนั้นป๋าเปรมแต่งชุดพลเอกเต็มขั้น เดินออกมาจากบ้านหน้าตาเฉย ด้วยความเคยชินว่านี่คือเจ้านายใหญ่ พลทหารที่ไหนจะกล้าไปขวาง ป๋าเปรมขึ้นรถได้ก็ออกไปโคราช กลับบ้านตัวเองได้ก็เหมือนมังกรลงทะเล ตอนนั้นมีพลตรีอาทิตย์ กำลังเอก คุมทางด้านนั้นอยู่ เอาสถานีวิทยุของค่ายทหารที่โคราชมาออกข่าวต่อสู้กับทางด้านคณะปฏิวัติ
ในเมื่อเขาไม่สามารถที่จะจับตัวป๋าเปรมซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีได้ และในหลวง พระราชินี และองค์รัชทายาทก็ได้รับการคุ้มครองป้องกันจากอีกฝ่ายหนึ่งไปแล้ว ทำให้ชาวบ้านไม่สนับสนุน พวกปฏิวัติก็เลยกลายเป็นกบฏ เพราะทำการไม่สำเร็จ
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-05-2012 เมื่อ 02:49
|