ถาม : เมื่อจิตเริ่มเป็นสมาธิบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ จากขณิกสมาธิไปสู่อุปจารสมาธิ แล้วก็สู่อัปปนาสมาธิ อันนี้ท่านพอจะบรรยายเป็นคำพูดได้ไหมครับ ไม่ใช่ในส่วนของการปฏิบัติแต่เป็นในส่วนของความรู้สึกที่เกิดขึ้น แล้วในแต่ละขั้นจิตไปจับอยู่ตรงไหน อย่างไรบ้างครับ ?
ตอบ : อันดับแรกความรู้สึกทั้งหมดต้องอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก หลุดจากลมหายใจเข้าออกเมื่อไรจะไม่สามารถสร้างสมาธิได้ เมื่อลมหายใจเข้าออกเริ่มทรงตัวอยู่ในลักษณะละเอียดขึ้น นั่นจะเป็นลักษณะของขณิกสมาธิ
ปกติสภาพจิตของเราอยู่ในลักษณะน้ำที่กระเพื่อมอยู่ตลอดเวลา น้ำที่กระเพื่อมอยู่ไม่สามารถที่จะสะท้อนเงาสิ่งต่าง ๆ ลงไปได้ แต่พอน้ำเริ่มนิ่ง เงาจากสิ่งต่าง ๆ จะสะท้อนลงไปให้เห็น บางทีก็ชัดเจนเหมือนกับมองของจริงเลยก็มี การรู้เห็นจะเริ่มปรากฏ นี่เป็นขั้นตอนของอุปจารสมาธิ
ก่อนที่จะถึงฌาน สมาธิที่เรียกว่าอุปจารสมาธิ ก็คือใกล้จะทรงเป็นฌานนั้นจะมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นกับร่างกายที่เรียกว่าปีติ ก็จะมี ขณิกาปีติ ก็คือบางคนก็ขนลุกเป็นพัก ๆ ถ้าขุททกาปีติก็น้ำตาไหล โอกกันติกาปีติ ร่างกายโยกไปโยกมา ดิ้นตึงตังโครมคราม ถ้าหากว่าเป็นอุเพ็งคาปีติก็ลอยขึ้นได้ ลอยไปไกล ๆ ก็มี ถ้าหากว่าเป็นผรณาปีติ บางทีก็ตัวพอง ตัวใหญ่ ตัวแตก ตัวระเบิด ความรู้สึกเป็นอย่างนั้นชัดเจนมาก จนบางคนไม่กล้าทำสมาธิอีก เพราะกลัวว่าจะตาย..!
เมื่อลมหายใจเข้าออกของเราทรงตัวมากขึ้น อาการภายนอกที่เกิดกับร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง (ซึ่งเป็นส่วนที่ชัดเจนที่สุด) แต่ไม่ก่อเกิดความรำคาญ ความรู้สึกทั้งหมดผูกอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก นี่เป็นอาการของ อัปปนาสมาธิขั้นแรกที่เรียกว่าปฐมฌาน
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-05-2012 เมื่อ 04:36
|