พระอาจารย์กล่าวถึงสำนวนตัดหางปล่อยวัดว่า "สำนวนตัดหางปล่อยวัด เกิดจากการที่คนสมัยก่อน เอาหมาหรือไก่ไปปล่อยวัด แล้วตัดหางเพื่อให้ต่างจากหมาของตัวเองหรือไก่ของตัวเอง ไม่อย่างนั้นพอถึงเวลาก็จะไปหากินปนกัน ไม่รู้ว่าเป็นของใคร
อีกประการหนึ่ง ถ้าหมาโดนตัดหางแล้วมักจะจำว่าใครทำ จำว่าโดนคนนี้ทำอันตรายมา ต่อไปก็จะไม่ไปหาคนนั้นอีก เขาจะได้ปล่อยวัดได้สมใจนึก ส่วนไก่ไทยเราแต่เดิมมักจะเป็นพันธุ์ที่มีเชื้อไก่ป่า บินอย่างกับนก เขาจึงตัดหางเพื่อจะได้ไม่บินไปไกล
สรุปว่าการตัดหางปล่อยวัดมีสองความหมายด้วยกัน ความหมายแรก เพื่อให้มีความต่างจากสัตว์เลี้ยงของตัวเอง ความหมายที่สอง เพื่อเป็นที่จดจำ เมื่อเป็นอย่างนั้นพอถึงเวลาใครเอาลูกเอาหลานไปไว้วัด เขาก็เลยพูดเล่นกันว่า “โดนตัดหางปล่อยวัด”
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-04-2012 เมื่อ 10:12
|