ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 18-01-2012, 08:17
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,321 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๔. “ร่างกายไม่ดียิ่งต้องรักษากำลังใจให้ดี เวลานี้พึงคิดว่า ความตายกำลังใกล้เข้ามา จักได้ไม่ประมาทในชีวิต การป่วยไข้ไม่สบายเป็นการเตือนให้เห็นมรณภัย จิตจักได้เห็นร่างกายตามความเป็นจริง อย่าได้มัวเมาในความเป็นอยู่ คิดแต่ว่าร่างกายนี้จักยังอยู่ ให้สอบจิตดู ถ้ายังเมาอยู่กับอารมณ์เกาะติดโลกและขันธโลก (ขันธ์ ๕) ก็สอบตกในการปฏิบัติธรรม และหากมีอาการขัดข้องขุ่นเคืองในกฎของกรรมที่ให้ผลอยู่ ก็เป็นการสอบตกในอารมณ์ปฏิฆะเช่นกัน ขอให้ปรับปรุงจิตใจตนเองให้ดีขึ้นด้วย ทุกอย่างจักต้องอาศัยกำลังใจของตนเองเป็นสำคัญด้วย บารมี ๑๐ จึงทิ้งไม่ได้ ต้องใคร่ครวญอยู่เสมอ”

๕. “งานวิปัสสนาธุระกับคันถธุระจักต้องไปด้วยกัน (งานทางโลกกับงานทางธรรม หรืองานทางกายอยู่กับโลก งานของจิตอยู่กับธรรม) เพราะลำพังคิดแต่จักทำแต่วิปัสสนาธุระอย่างเดียวนั้น กำลังของจิตยังไม่พอ การทำงานให้กับพระพุทธศาสนา เช่น การทำงานของวัดเป็นการสร้างเสริมบารมี เป็นการสั่งสมบุญ (เป็นวิหารทานอันเป็นบุญสูงสุดในพุทธศาสนา ในวัตถุทาน ถวายสังฆทาน ๑๐๐ ครั้ง ยังได้บุญสู้ถวายวิหารทานครั้งเดียวไม่ได้) คนฉลาดในเรื่องสะสมบุญในวัตถุทานทางโลก เวลาวัดมีงานเขาจึงเอากายมาช่วยทำงานให้กับวัด ตามกำลังใจและกำลังกายของเขา เพื่อเป็นปัจจัยให้จิตมีกำลังเพิ่มขึ้น และเข้าถึงพระนิพพานได้ง่าย

ส่วนใหญ่อารมณ์จิตของคนเรามักไหลลงสู่ที่ต่ำเสมอ คือชอบคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว อันเป็นบาปอกุศล ดังนั้น เมื่อยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด สิ่งใดเป็นบุญ เป็นกุศลก็พึงให้จิตเกาะไว้ แม้จักเป็นบุญหรือทานเล็กน้อย ก็ยังดีกว่าจิตไปเกาะบาป เกาะอกุศล ดังนั้น พึงระวังคำพูด อย่าให้ไปเบียดเบียนใครได้ นั่นแหละจักดีมาก แม้แต่อุปมา-อุปมัยก็เป็นภัยกระทบแก่บุคคลอื่นได้ บางครั้งอุปมา-อุปมัยนั่นแหละ สร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ฟัง ฟังแล้วนำไปปรุงแต่งเป็นมโนกรรมได้โดยง่าย เช่น เราไปตำหนิกรรมของใครเข้า แต่ไม่ออกชื่อ คนฟังก็ไปปรุงแต่งธรรมเอาว่า คงจะเป็นคนนั้นคนนี้ ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงไม่ใช่ เรื่องการพูดอุปมา-อุปมัยที่ไม่ชัดเจน จึงต้องพิจารณาก่อนให้รอบคอบด้วย”

๖. “อย่าสนใจในเรื่องราวของบุคคลอื่น กฎของกรรมนั้นเที่ยงเสมอ ไม่มีใครหนีพ้นกฎของกรรมนั้นไปได้ ให้พยายามทำจิตให้ยอมรับกฎของกรรม ที่เข้ามาในวิถีชีวิตขณะนี้ จิตจักต้องมีความมั่นคง อย่าท้อแท้หวั่นไหวกับกฎของกรรม พวกเจ้ายังจักต้องฝึกจิตให้ยอมรับกฎของกรรมอีกนาน คนเรานี้แปลก รู้ทั้งรู้อยู่ว่ากรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ แล้วกรรมทั้งหลายที่อันจักเกิดขึ้นแก่ใครได้ ก็เนื่องด้วยเหตุจากบุคคลนั้นได้ทำเอาไว้ แต่พอผลของกรรมเข้ามากระทบ กล่าวคือให้ผลแก่คนผู้กระทำเอาไว้เอง กลับโวยวาย ไม่ยอมรับกฎของกรรมนั้น ๆ จักให้พระท่านช่วย พระท่านก็ช่วยได้อยู่ แต่ต้องไม่เกินวิสัยกฎของกรรม(หากเราไม่เคยก่อกรรมเหล่านี้ไว้ก่อนในอดีต วิบากกรรมเหล่านี้ก็เกิดกับเราไม่ได้ในปัจจุบัน)

ดังนั้นอารมณ์ของจิตนั้นสำคัญที่สุด มีอะไรก็ให้ลงตรงกฎของธรรมดาเข้าไว้ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่สามารถพ้นกฎของกรรม หรือกฎของธรรมดาไปได้ ให้ดูกำลังใจของท่านพระอริยเจ้าเบื้องสูงทั้งหลาย ที่ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจาก สุปฏิปันโน-อุชุปฏิปันโน-ญายปฏิปันโน-สามีจิปฏิปันโนตามลำดับ หมายความว่าจากเป็นพระโสดาบัน เป็นพระสกิทาคามี (เป็นผู้มีอธิศีลและกรรมบถ ๑๐) เป็นพระอนาคามี (เป็นผู้มีอธิจิตหรือทรงฌาน หรือมีญาณ) เป็นพระอรหันต์ (สามี แปลว่าเป็นใหญ่ในความดีทั้งหมดในพุทธศาสนา) ให้ดูกำลังใจของท่าน กายจักเสื่อม คือป่วยขนาดไหนก็ตาม แต่กำลังใจของท่านเด็ดเดี่ยวอยู่เสมอ ไม่ผลีผลาม สุขุมรอบคอบ ให้ศึกษาปฏิปทาของท่านและพึงปฏิบัติตามไปด้วย

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 18-01-2012 เมื่อ 14:57
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 62 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา