ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 27-09-2011, 07:36
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,395
ได้ให้อนุโมทนา: 157,983
ได้รับอนุโมทนา 4,479,638 ครั้ง ใน 36,004 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ข้อที่ ๓ ข้อสุดท้ายของอปัณณกปฏิปทาก็คือ ชาคริยานุโยค คือ การปฏิบัติธรรมของผู้ตื่นอยู่ คำว่าผู้ตื่นอยู่ในที่นี้ ก็คือการมีสติระลึกรู้อยู่เสมอ การที่จะมีสติระลึกรู้อยู่เสมอแล้วป้องกันไม่ให้กิเลสเข้ามากินใจเราได้ ก็คือการระลึกถึงอานาปานุสติ เอาสติกำหนดจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออกอย่างที่พวกเราปฏิบัติกันอยู่ในขณะนี้

ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราอยู่กับลมหายใจเข้าออก อยู่กับปัจจุบันตรงหน้า ตอนนี้ เดี๋ยวนี้ ไม่ใช่ส่งจิตวุ่นวายฟุ้งซ่านไปในเรื่องอดีตที่ผ่านมาหรือเรื่องอนาคตที่ยังมาไม่ถึง จนกระทั่งท่านทั้งหลายสามารถที่จะปฏิบัติให้จิตของตนก้าวเข้าสู่ระดับปฐมฌานละเอียดขึ้นไป ถ้าอย่างนั้น ท่านสามารถที่จะเป็นผู้ตื่นได้แม้กระทั่งเวลาที่หลับอยู่

เพราะสภาพจิตที่ละเอียด จะรับรู้อาการภายนอกทั้งหมด นอนอยู่ก็รู้ว่าตัวเองนอน หลับอยู่ก็รู้ว่าตัวเองหลับ กรนอยู่ก็รู้ว่าตัวเองกรน มีสิ่งใดเกิดขึ้นรอบข้างก็รับรู้อยู่ แต่ว่าไม่ไปใส่ใจในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ยกเว้นว่าบางอย่างมีความเกี่ยวเนื่องกันที่เราต้องไปจัดการให้เรียบร้อย ก็จะคลายสติออกมาอย่างระมัดระวัง

เมื่อจัดการสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเรียบร้อยแล้ว ก็ดึงเอาอารมณ์ของตนเองกลับเข้าไปสู่จุดปลอดภัย ก็คืออยู่กับอารมณ์เฉพาะหน้า ตอนนี้ เดี๋ยวนี้ต่อไป การที่เราเป็นนักปฏิบัตินั้น ถ้าเข้าไม่ถึงชาคริยานุโยคคือการปฏิบัติธรรมของบุคคลที่ตื่นอยู่ คือหลับและตื่นมีสติระลึกรู้เท่ากัน ถ้าอย่างนั้นเรายังเอาดีได้ยาก

เพราะว่าหลายต่อหลายท่านเวลากลางวันสามารถที่จะระงับยับยั้งไม่ให้รัก โลภ โกรธ หลง เกิดขึ้นกับตัวเองได้อย่างดียิ่ง แต่เวลาที่นอนหลับ สติขาดลง รัก โลภ โกรธ หลงก็กินอย่างเต็มที่ กินเราตอนตื่นไม่ได้ก็ไปกินเราตอนหลับ พาให้เราฝันวุ่นวายไปหมด

ท่านที่ไม่เคยละเมิดศีลข้อกาเมฯ ก็ฝันว่าละเมิดศีลข้อกาเมฯ ท่านที่ไม่เคยละเมิดศีลข้อปาณาติบาตก็ฝันว่าละเมิดศีลข้อปาณาติบาต เป็นต้น แต่ถ้าเราสามารถจะปฏิบัติได้จนถึงระดับตื่นและหลับรู้ได้เท่ากัน กิเลสก็ไม่สามารถที่จะกินใจของเราได้ สติ สมาธิของเราจะดำเนินต่อเนื่องไปตลอด

เมื่อสติไม่ขาดช่วงลง ความผ่องใสของจิตมีมาก ปัญญาก็จะเกิดมากขึ้น เห็นทุกอย่างได้ชัดเจน แหลมคม เมื่อเห็นสาเหตุของการเกิดทุกข์ได้ สมาธิที่ทรงตัวอยู่ก็มีกำลังมากเพียงพอที่จะตัดละซึ่งสาเหตุนั้น ช่วยให้เราหลุดพ้น ได้มรรคผลแต่ละระดับตามกำลังที่ตนเองทำได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-09-2011 เมื่อ 11:28
สมาชิก 44 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา