ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 27-07-2011, 08:35
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,395
ได้ให้อนุโมทนา: 157,983
ได้รับอนุโมทนา 4,479,638 ครั้ง ใน 36,004 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เมื่อนักปฏิบัติกำลังใจทรงตัวแล้วกระทบกับโลกธรรม มีความยินดียินร้ายหรือไม่ ? ต้องดูกำลังใจของตนเอง ถ้าไม่ยินดียินร้ายกับโลกธรรม ก็จะอยู่ในลักษณะที่ไม่ไปไขว่คว้าหรือไม่ไปผลักไส ไม่ว่าในส่วนอิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่น่าพอใจ หรืออนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ

ถามว่าจะดำรงชีวิตอยู่ในโลกอย่างไร ? ถ้าไม่ยินดีในสิ่งที่คนอื่นเขาต้องการ ก็ต้องทำตัวในลักษณะที่ว่าไม่ไปไขว่คว้ามาจนเกินพอดี แต่ถ้ามีก็ไม่ขับไสไล่ส่ง เพราะว่าการที่เราไปดิ้นรนไขว่คว้าจนเกินพอดี ย่อมจะสร้างทุกข์สร้างโทษแก่เรา แต่ถ้าสิ่งทั้งหลายได้มาด้วยความดี ความสามารถของเราเอง ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องผลักไส เพียงแต่ว่าให้รับไว้อย่างมีสติ

มีสติรู้อยู่ว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ท้ายสุดก็ดับไป ถ้าเราเห็นธรรมดาของโลกได้ ก็จะเกิดการปล่อยวาง ไม่ไปยึดมั่นถือมั่น เมื่อพบกับอารมณ์ที่น่ายินดีก็ไม่ไปยินดีจนเกินงาม เมื่อพบกับอารมณ์ที่ไม่น่ายินดี ก็ไม่ไปยินร้ายด้วย จิตใจจะอยู่ในสภาพเป็นกลาง ที่เรียกว่า อัพยากตารมณ์ คืออารมณ์กลาง ๆ ไม่ยินดีไม่ยินร้าย

ถ้าสามารถวางกำลังใจเช่นนี้ได้ ก็จะเกิดสภาพจิตที่ได้กล่าวก่อนเจริญกรรมฐานว่า ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะนะ กัมปะติ จิตที่กระทบกับโลกธรรมแล้วไม่หวั่นไหว ซึ่งองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เป็นเอตัมมัง คะละมุตตะมัง เป็นมงคลอันสูงสุด
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-07-2011 เมื่อ 13:05
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา