ดูแบบคำตอบเดียว
  #129  
เก่า 30-06-2011, 01:21
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,326 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : (ไม่ได้ยิน)
ตอบ : จริง ๆ แล้วสำคัญเท่ากันทุกตัว แต่เขาพยายามสร้างสติให้ทรงตัวที่สุด เพื่อใช้สติควบคุมตัวอื่นให้เจริญ

ในเรื่องของอินทรีย์ ๕ หรือพละ ๕ ก็ตาม ท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนรถม้าที่เทียมด้วยม้า ๕ ตัว ม้าที่ชื่อสติ จะนำหน้า ม้าที่ชื่อวิริยะกับสมาธิจะตีคู่กันไป ม้าที่ชื่อศรัทธากับปัญญาจะต้องตีคู่กันไป

ถ้าศรัทธาเกินจะเป็นอธิโมกขศรัทธา ปัญญาไม่มีก็จะเชื่อแบบงมงาย ถ้าปัญญาเกินก็จะจด ๆ จ้อง ๆ ไม่กล้าทำอะไรเพราะกลัวผิดพลาด ถ้าวิริยะความเพียรมากจนเกินไป สมาธิสูงเกินหนักเกิน จะพิจารณาวิปัสสนาญาณไม่ได้ เพราะฉะนั้น..ในส่วนของศรัทธากับปัญญาต้องเสมอกันเป็นคู่ที่หนึ่ง ในส่วนวิริยะกับสมาธิต้องเสมอกันเป็นคู่ที่สอง แต่ในส่วนของสติ ท่านบอกว่ายิ่งมีมากยิ่งดี

ดังนั้น..ถ้าเราเห็นรถเทียมม้า ๕ ตัววิ่งไป ตัวสติจะนำหน้า ตามมาด้วยคู่ของวิริยะกับสมาธิ และคู่ของศรัทธากับปัญญา แต่ทั้งปวงแล้วต้องเป็นผู้มีปัญญาก่อน จึงจะเห็นว่าอะไรดีแล้วควรทำ หลังจากนั้นต้องประกอบไปด้วยศรัทธาจึงอยากที่จะทำ เมื่อทำดังนั้นได้แล้ว ก็ต้องมีวิริยะคือพากเพียรทำไปจนสมาธิทรงตัว สมาธิที่ทรงตัวนั้นแหละ สติก็จะเกิดขึ้น ปัญญาก็จะเกิดขึ้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-06-2011 เมื่อ 03:27
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 154 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา