ถาม : พระ..จับเงิน..ไม่จับเงิน..?
ตอบ : ความจริงจับไม่ได้ทั้งคู่แหละ มหานิกายก็ผิด ธรรมยุตก็ผิด เพราะสิกขาบทที่ ๘ ในโกสิยวรรค นิสสัคคียปาจิตตียกัณฑ์กล่าวไว้ว่า ภิกษุรับเงินทองหรือสิ่งของที่เขาใช้แทนเงินทองก็ดี ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์
สิกขาบทที่ ๙ กล่าวว่า ภิกษุรับเองหรือใช้ผู้อื่นรับก็ดี ต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ แปลว่า ถ้าพระธรรมยุตให้ลูกศิษย์รับก็โดนเหมือนกัน ฉะนั้น..พระมหานิกายที่ใจกล้ากว่า ก็คว้าเงินเองเลย ไหน ๆ ก็ผิดแล้ว
สำคัญตรงที่ว่าเรารับไป เราเอาไปใช้ประโยชน์เพื่อส่วนรวมหรือเพื่อตัวเอง ? ถ้าเพื่อตัวเอง ต่อให้จับเงินหรือไม่จับก็แย่พอกัน สมัยก่อนหลวงปู่บุดดาท่านก็ไม่จับเงิน แต่พอไปอยู่วัดท่าซุง คนถวายเงินมา หลวงปู่ก็แหวกย่ามให้ใส่ หลวงพ่อท่านหันมาพอดี "ไม่เอาใช่ไหม ? ผมเอาเองก็ได้"
หลวงปู่บุดดาท่านตะครุบเลย "จับแล้วครับ" หลวงพ่อท่านบอกว่า "ต้องอย่างนั้นสิ แค่วัตถุที่เป็นธาตุสี่ ดิน น้ำ ไฟ ลม ถ้าหากทำให้ใจหมอง ก็อย่าเอาเลย ผมเอาเองก็ได้"
มีหลายอย่างที่ทางธรรมยุตเขาถือมั่น ความจริงเป็นสิ่งที่ดีเพราะทำให้จิตละเอียดขึ้น แต่จำนวนเกิน ๘๐ เปอร์เซ็นต์ แทนที่จิตจะละเอียดขึ้น ปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นได้ง่ายขึ้น กลายเป็นยึดติดมากขึ้น
ที่ยึดติดมากขึ้นเพราะไปคิดว่าท่านเคร่งกว่า ท่านดีกว่า ตรงจุดนี้จะเป็นอุปาทานอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า สีลัพพัตตุปาทาน ยึดมั่นในศีลพรต ยึดหลักปฏิบัติของตนว่าดีกว่าผู้อื่น ก็เลยไปไหนไม่ได้สักที แต่ท่านที่ดีทำถูก ความละเอียดตรงนี้ก็ส่งผลให้ท่านเข้าถึงธรรมได้เร็วขึ้น
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-02-2019 เมื่อ 15:44
|