๗. “ไม่ดี ไม่เอาแล้วทำไมไม่จำ ทำไม่ได้อีกต่างหาก สอนจนครูเหนื่อยเพราะลูกศิษย์ไม่รักดีอยู่นี่ ใช้ไม่ได้ เอาเสียใหม่นะ คิดตรงนี้ให้มาก ๆ
ทำความดีแข่งกับความตายเข้าไว้ ตัดเสียให้ได้เรื่องความเศร้าหมองของจิต ต้องคิดให้ได้ คิดให้รู้เท่าทันความเป็นจริง หายใจเข้าไม่หายใจออกก็ตาย หายใจออกไม่หายใจเข้าก็ตาย เตือนจิตของตนเองให้ระลึกถึงความไว ความเร็วของความตายตามความเป็นจริงเข้าไว้ มัวแต่ปล่อยอารมณ์ให้จิตเศร้าหมองอยู่อย่างนี้ มันจะหนีความตายไหม อย่าว่าแต่ ๑๐ วันจะร่วม ๒๐ วันที่ผ่านมาเลย การปล่อยให้จิตเศร้าหมองเกินกว่าเสี้ยววินาทีเดียว ก็ประมาทจนเกินไปแล้ว”
๘. “จิตเอ็งเหลวไหลเกินไป กำลังใจมันไม่เข้มแข็งพอ ชอบทิ้งคำภาวนาให้นิวรณ์มันแทรกอยู่เรื่อย ๆ
ต้องเอาใหม่รักษากำลังใจให้เข้มแข็ง เอามันให้มั่นคง ทั้งสมถะภาวนาและวิปัสสนาภาวนา สอบจิตให้มั่นคงอยู่ตลอดเวลา ให้กำหนดรู้นิวรณ์แทรกเมื่อไหร่ รู้ตัวก็ตัดทิ้งไป ตั้งต้นภาวนาใหม่เมื่อนั้น เตือนถึงขนาดนี้แล้วจะทำได้หรือไม่ได้ หรือไม่ทำก็ตามใจ”
๙. “อยากพ้นทุกข์ก็ทำตามนี้ ถ้าไม่อยากพ้นทุกข์ก็ไม่ต้องทำ กอดทุกข์ให้มันทุกข์อยู่นั่นแหละ จะได้เกิดใหม่ให้มันทุกข์ต่อไปอีก ทุกข์แล้วทุกข์อีก ทุกข์ไม่รู้จักพอเพราะไม่รู้จักปล่อยวางทุกข์ นี่แหละ เอ็งรู้จุดนี้เข้าไว้ ถ้าวางไม่ได้ก็แก้ไขอะไรไม่ได้ นี่มันเป็นอารมณ์ติดของจิตดวงเดิม ที่ทำให้เอ็งต้องเกิดมาซ่อมโบสถ์วิหารอยู่นี่แหละ
เป็นอารมณ์ไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักการปล่อยวาง ต้องต่อสู้กับมัน เรียนรู้และจะต้องแก้ไขอารมณ์นี้ให้ได้
ถ้าแก้ไม่ได้ก็ต้องกลับมาเกิดใหม่ มาซ่อมโบสถ์วิหารอยู่อย่างนี้ให้พบทุกข์ พบอุปสรรคอยู่อย่างนี้อีก เอาไหม”
(ก็ตอบท่านว่า ไม่เอา)
๑๐. “ไม่เอาก็ต้องแก้ไขให้ได้ตามนี้”
(ตอบว่า ลูกจะพยายาม)
หลวงปู่ตื้อ ท่านก็มาสอนต่อ “เออ เอ็งจะพยายามมากี่หนแล้วว่ะ”
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
www.tangnipparn.com