๙. “อย่าโง่ เอาแต่
เกาะทุกข์ลูกเดียวไม่มีประโยชน์อันใด ตถาคตไม่ต้องการสอนคนที่ไม่รู้จักอารมณ์ จักพ้นทุกข์ได้อย่าไปรบกับใคร ให้รบกับอารมณ์กิเลสที่เกิดขึ้นในจิตของตนเอง รบกับบุคคลอื่นชนะก็ชนะเพียงชั่วคราว ไม่ยั่งยืนถาวร
ต้องรบกับอารมณ์กิเลสของตัวเองโดยยึดหลักสังโยชน์เข้าไว้ ชนะให้ได้ตามนั้น ถ้าชนะได้ก็ชนะตลอดไปจีรังยั่งยืนถาวรเสมอ ขอเพียงสักแต่ว่าให้รู้อารมณ์ของตนเอง รบ ๑๐๐ ครั้งก็ชนะทั้ง ๑๐๐ ครา นี่เป็นประโยชน์แก่เจ้าแล้วนะ ที่มีอุปสรรคให้เกิดขึ้นจนรู้จักทุกข์ถึงขนาดนี้ ก็จงอย่าพึงปล่อยโอกาสดีให้ผ่านไป”
๑๐. “ใช้ทุกข์ให้เป็นประโยชน์ จักได้เข้าถึงอริยสัจกันจริง ๆ เสียที คนโง่เท่านั้นที่กอดทุกข์เข้าไว้ เหมือนอุปมา คนจักจมน้ำตาย ยังกอดคอผู้อื่นให้จมน้ำตายไปด้วย ทั้ง ๆ ที่คนผู้นั้นจักช่วยให้พ้นจากการจมน้ำตาย
คนฉลาดเขาคลายทุกข์ เหมือนกับคนจักจมน้ำตาย รู้ว่าอีกคนเขาจักช่วยเราปล่อยให้เขาคว้า จิตก็พิจารณาไปตามนั้น รู้ว่าเขาช่วยเรา เราจักไม่กอดคอเขาไว้ ปล่อยวางให้เขาทำหน้าที่ตามสบาย ๆ ตาม
กำหนดรู้ พิจารณาตามหลักความเป็นจริงอย่างเดียว ทุกข์กอดทุกข์ ก็จมทุกข์อยู่นั่นแหละ”
๑๑. “
ทุกข์คลายทุกข์ พิจารณาตามกำหนดรู้ทุกข์ เมื่อเข้าถึงทุกข์ก็เข้าถึงอริยสัจ ปล่อยวางทุกข์ ก็เท่ากับช่วยให้พ้นทุกข์ได้ ใช้ประโยชน์ให้เป็นสิ”
๑๒. “
ในทุกข์ตัวเดียวกันนี้แหละ จักพ้นทุกข์ก็ได้ จักจมทุกข์ก็ได้ คนไม่รู้จักตัณหาก็พ้นตัณหาไม่ได้ คนไม่รู้จักทุกข์ก็พ้นทุกข์ไม่ได้ นักปฏิบัติจักสอบได้หรือสอบตก หากไม่มีอารมณ์กระทบนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ พวกเจ้าต้องคำนึงถึงความเป็นจริงของจุดนี้ให้ดี ๆ”
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
www.tangnipparn.com