ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 22-12-2010, 10:38
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,897 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๕."คำว่า "ผู้รู้" มิได้หมายถึง มีแต่เฉพาะพระตถาคตเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ที่ตรัสนี้รวมไปถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ผู้รู้ตามพระพุทธเจ้าด้วย อุเบกขาขั้นสูง มีกำลังสูงเป็นสังขารุเบกขาญาณ จึงเผื่อแผ่ไปถึงผู้อื่นที่ประสบกฎของกรรมที่เขากระทำนั้น ๆ ผู้รู้ในขั้นสูงนี้ ย่อมไม่ฝืนกฎของกรรม และจักรู้ว่าควรสงเคราะห์หรือไม่ควร มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์กับการสงเคราะห์นั้น ๆ

๖.“การประพฤติปฏิบัติในพรหมวิหาร ๔ ของท่านผู้รู้ ย่อมไม่เสียเปล่า เพราะท่านรู้แจ้งในกฎของกรรมและอริยสัจนั่นเอง คือ เห็นโลกทั้งโลก ชีวิตทุกชีวิตหนีกฎของกรรมไปไม่พ้น ใครทำดีได้ดี ใครทำชั่วได้ชั่ว ไม่มีเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นไปได้เลย”

๗.“ถ้าเข้าใจธรรมในธรรมเหล่านี้ จิตจักเคารพในกฎของกรรม สามารถเข้าใจและพิจารณาให้เข้ากับพระธรรมคำสั่งสอนได้อย่างดี จักเห็นผลของการละเมิดพระธรรมวินัยหรือศีล ๕, กรรมบถ ๑๐ ชัดขึ้น ๆ จนหมดความสงสัยในเรื่องกฎของกรรมว่าเที่ยงเสมอและให้ผลไม่ผิดตัวด้วย เพราะจิตมันกลัวบาปเสียอย่างเดียว (หิริ-โอตตัปปะหรือเทวธรรมมีกำลังสูง) จักหยุดกรรมทั้ง ๓ ประการได้หมด หากทำได้อำนาจของอริยสัจก็เต็มกำลังเข้าถึงใจ ปัญญาขั้นสูงก็พิจารณาทุกข์ได้จนถึงที่สุด”

๘.“สำหรับพวกเจ้า ย่อมยังมีอารมณ์เผลออยู่บ้างเป็นธรรมดา เพราะหากไม่เผลอเลยเจ้าก็เป็นพระอรหันต์ จึงมิใช่ของแปลกเมื่อเผลอ แต่จงอย่าละความเพียรเสียอย่างเดียว หมายถึง ในทางที่ถูก อย่าเพียรทำกรรมชั่ว ให้เพียรละกรรมชั่วโดยมีศีล-สมาธิ-ปัญญาเป็นบรรทัดฐาน และที่ไม่ได้ผลเพราะบารมี ๑๐ ไม่ทรงตัว พรหมวิหาร ๔ ก็ไม่ทรงตัว อิทธิบาท ๔ หย่อนยาน จิตไปเกาะกรรมที่ร่างกายต้องประสบมากไป รวมทั้งไม่วางกรรมของผู้อื่นที่เข้ามากระทบด้วย จึงเท่ากับไม่ยอมรับกฎของกรรม และอริยสัจอย่างจริงใจ นี่ก็เป็นอุปสรรคของการปฏิบัติธรรมของพวกเจ้าจุดใหญ่”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา