แปลกแต่จริง ทำชั่วทำง่าย ทำดีทำยาก
สมเด็จองค์ปฐมทรงพระเมตตา ตรัสสอนเพื่อนของผมในเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญโดยย่อว่า
๑. “
เป็นวิสัยของคนโง่ ทำชั่วทำได้โดยไม่เสียเวลาที่จักต้องคิดแม้ขณะจิตเดียว กรรมชั่วนั้นก็ให้ผล
แต่พอจักกระทำกรรมดี คิดแล้วคิดอีก ลังเลแล้วลังเลอีก ขี้เกียจแล้วขี้เกียจอีก แต่กรรมชั่วขยันทำ คนเยี่ยงนี้ปล่อยจิตให้ตกอยู่ในสภาพนี้ ก็มีหวังลงอบายภูมิได้ง่าย ๆ”
๒. จงใช้ความเพียรให้ถูก ยุติกรรมใหม่เสีย ไม่ว่าทางกาย วาจา ใจ พยายามกำหนดรู้เข้าไว้ พิจารณากรรมเข้าไว้ ให้เข้าในหลักพระธรรมวินัย
ให้จิตมีสติ-สัมปชัญญะเข้าไว้ว่า กรรมที่เสวยอยู่ในกาย วาจา ใจ อันเป็นกรรมปัจจุบันนั้น เป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว ผิดหรือถูกพระธรรมวินัย ถ้าถูกก็จงกระทำไป ถ้าผิดก็จงละเสีย”
๓.
“การปฏิบัติให้มุ่งถูกต้องในหลักพระธรรมวินัย ให้เกิดแก่กาย วาจา ใจ ของตนเป็นหลักสำคัญก่อน อย่าไปมุ่งที่บุคคลอื่น ช่วยตนให้ดีพร้อมก่อน จึงจักช่วยผู้อื่นให้ดีงามพร้อมตามได้ แต่ต้องไม่พ้นวิสัยกฎของกรรม”
๔. “
สำหรับบุคคลผู้มีกรรมไม่พอรับการสงเคราะห์ ก็ไม่มีประโยชน์ที่ไปเสียเวลาสงเคราะห์ เช่น ไม่ยอมเจริญอานาปานุสติ ซึ่งเป็นฐานใหญ่ที่ทำให้จิตสงบเป็นสุข ไม่ยอมรักษาศีล ซึ่งเป็นฐานใหญ่ในการรองรับพระธรรมในพุทธศาสนา
เป็นผู้มีความประมาทในความตาย” เป็นต้น
๕. “ในการปฏิบัติพระกรรมฐาน เมื่อพบอุปสรรคชอบบ่นว่ายาก ทั้ง ๆ ที่ไม่มีประโยชน์อันใด เป็นการทำร้ายจิตตนเองทุกครั้งที่บ่น แต่เวลาทำกรรมชั่ว ไฉนไม่บ่นบ้างว่าทำยาก คนเรานี่แปลก จะกระทำความดีได้แต่ละครั้ง ก็บ่นแล้วบ่นอีก ต่างกับความชั่วที่เข้ามาบงการอารมณ์ของจิตโดยเฉพาะโทสะ ฆ่าคู่อริตายไปเสียแล้วก็มี แสดงว่ากรรมชั่วทำได้ง่ายมาก ไม่ต้องบ่นหรือท้อแท้ มันจึงแปลกแต่จริงตรงนี้แหละ”
(เพลงลูกทุ่ง จึงเอาพระธรรมจุดนี้ไปแต่งเป็นเพลงความว่า มัน
แปลกจริงหนอ สิ่งที่ควรจะจำกูกลับลืม สิ่งที่ควรจะลืมกูกลับจำ เป็นต้น)
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
www.tangnipparn.com