๖. “
โลกธรรม ๘ ที่เกิดขึ้นแก่จิตของพวกเจ้าได้ เพราะเป็นผลกรรมที่พวกเจ้าล้วนกระทำเอาไว้เอง สิ่งเหล่านี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ หนีอย่างไรก็ไม่พ้น ขอให้พวกเจ้าจงทำใจหรือเตรียมใจเอาไว้เสมอ
ให้ยอมรับผลของกฎแห่งกรรมนั้น”
๗.
“อย่าโวยวาย มีกรรมอันใดเกิด จงนำมาพิจารณาให้เห็นกรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ ทุกอย่างเป็นทุกข์ เพราะการกระทำของเราเองมาแต่อดีตทั้งสิ้น ไม่ว่าทางกาย วาจา ใจ นี่เป็นเหตุให้พวกเจ้าได้เข้าใจถึงอริยสัจให้ลึกซึ้งยิ่ง ๆ ขึ้น โดยอาศัยการไตร่ตรองพิจารณาถึงกฎของกรรมนี้”
๘. “
แม้แต่การมีร่างกายก็เป็นผลจากกฎของกรรม ต้นเหตุของกรรมมาจากความทะยานอยาก อยากมีร่างกายโดยอาศัยจิตมีตัณหา ๓ ประการ พวกเจ้าจึงต้องทุกข์เพราะกรรมของร่างกาย คือ ธาตุ ๔ พร่องอยู่เป็นนิจ
สร้างความไม่สบายกาย ไม่สบายใจให้แก่จิตที่อาศัยอยู่ตลอดเวลา นี่ก็เป็นอริยสัจ มีทุกข์เพราะการกระทำของจิตที่ติดตัณหา จึงเป็นเหตุให้มีร่างกายที่มีแต่ความทุกข์ คือ ความไม่เที่ยงแฝงเร้นอยู่ตลอดเวลา”
๙. “
อยากพ้นไปเสียจากสภาวะกฎแห่งกรรม อยากพ้นทุกข์ของการมีร่างกาย กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ ตถาคตเจ้าทั้งหลายตรัสไว้ดีแล้ว ให้กำหนดรู้ถึงเหตุแห่งกรรมนั้น และดับซึ่งต้นเหตุแห่งกรรมนั้น จึงจักพ้นกฏแห่งกรรมนั้นได้”
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
www.tangnipparn.com