ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 31-10-2010, 20:19
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,395
ได้ให้อนุโมทนา: 157,983
ได้รับอนุโมทนา 4,479,638 ครั้ง ใน 36,004 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๓

ให้ทุกคนนั่งตัวตรง กำหนดสติทั้งหมดอยู่เฉพาะหน้า อยู่กับลมหายใจเข้าออกของเรา หายใจเข้ากำหนดรู้ตามเข้าไป หายใจออกกำหนดรู้ตามออกมา

หายใจเข้าผ่านจมูก..ผ่านกึ่งกลางอก..ลงไปสุดที่ท้อง หายใจออกจากท้อง.. ผ่านกึ่งกลางอก..มาสุดที่ปลายจมูก จะใช้คำภาวนาอย่างไรก็ได้ตามแต่เราชอบใจ

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ เป็นการเจริญกรรมฐานวันสุดท้ายของต้นเดือนตุลาคม วันนี้อยากจะกล่าวถึงกรรมฐานที่ปฏิบัติได้ง่าย คำว่าง่ายในที่นี้ หมายถึงว่า ง่ายกว่าหมวดอื่น ๆ

ในการปฏิบัติกรรมฐานของเรานั้น ถ้าว่าไปตามหลักสมถกรรมฐานแล้ว มีอยู่ ๔๐ อย่างด้วยกัน คือ กสิณ ๑๐ อนุสติ ๑๐ อสุภกรรมฐาน ๑๐ ว่าไป ๓๐ อย่างแล้ว พรหมวิหาร ๔ อรูปฌาน ๔ รวมเป็น ๓๘ อาหารเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ รวมเป็น ๔๐ ด้วยกัน

ทั้ง ๔๐ อย่างนี้ หมวดของอนุสติ ๑๐ คือการตามระลึกถึงความดี ๑๐ อย่าง เป็นกรรมฐานที่ปฏิบัติได้ค่อนข้างจะง่ายกว่าหมวดอื่น ๆ เพราะว่าในอนุสติ ๑๐ นั้น ถ้ายกอานาปานุสติ การระลึกถึงลมหายใจเข้าออกเสีย ที่เหลืออีก ๙ กอง ทำเต็มที่ก็ไม่เกินอารมณ์ปฐมฌาน

เพียงแต่ว่าครูบาอาจารย์ท่านมีความฉลาด เมื่อถึงเวลาก็จับอานาปานุสติควบเข้าไปด้วย จึงทำให้อนุสติอีก ๙ กอง สามารถทำได้ถึงฌาน ๔ หรือสมาบัติ ๘ ก็ได้

ในเมื่อกรรมฐานทั้ง ๑๐ กองนี้ทำได้ง่าย และเป็นหลักยึดที่สำคัญของจิตใจของเรา โดยเฉพาะอานาปานุสติที่ป้องกันความฟุ้งซ่านทุกประเภทได้ จึงเป็นสิ่งที่พวกเราทุกคนควรจะศึกษาและปฏิบัติไว้ เพราะกระทำได้ง่ายและเห็นผลเร็ว
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-11-2010 เมื่อ 02:37
สมาชิก 57 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา