๕. “จุดนี้คือ พยายามแยกสันตติ คือ เห็นสันตติของอารมณ์ในขณะจิตหนึ่ง ๆ จักต้องใจเย็น ๆ จึงจักเห็น แต่ถ้าใจร้อนก็จักไม่เห็นสันตติของจิตนั้น เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว จนบุคคลผู้ไม่เคยฝึกจิตจักกำหนดรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เลย
เหตุการณ์ใดกระทบกระเทือนใจมาก เหตุการณ์เหล่านั้นเกิด ๆ ดับ ๆ อยู่ในอารมณ์ของจิตกี่ครั้งกี่หน บุคคลผู้นั้นก็ไม่รู้ ยังคงทำจิตให้จมปลักอยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ จัดว่าเป็นผู้โง่เขลาอย่างแท้จริง”
๖. “
พวกเจ้าทั้งหลาย เข้ามาถึงธรรมในธรรม จิตในจิตแล้ว ตถาคตจึงตรัสแสดงธรรมให้พวกเจ้าได้รู้ว่า พึงกำหนดรู้อารมณ์ของจิตในขณะหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็นธรรมปัจจุบันที่พึงจักจำแนกกิเลส ให้หลุดพ้นไปจากจิตได้”
๗. “
จุดนี้เป็นการปฏิบัติอันละเอียดอย่างยิ่ง พึงจักกระทำให้ได้เพื่อความพ้นทุกข์ ในสภาวธรรมที่ครอบงำจิตนั้น ๆ แยกสันตติทางอารมณ์ให้ออก จิตจักเสวยทุกขเวทนากับตัดสันตตินั้นให้ขาดด้วยยกกรรมฐานแก้จริตนั้น ๆ จิตจักเสวยสุขเวทนาในทางด้านโลกียวิสัย ก็ตัดสันตตินั้นให้ขาดด้วยกรรมฐานแก้จริตเช่นกัน จิตจักเสวยธรรมวิมุติ ก็พึงกำหนดรู้ หาเหตุเพิ่มกำลังให้กับจิต อันเป็นการส่งเสริมความดีในมรรคปฏิปทาปฏิบัติ จนได้ผลเข้าถึงธรรมนั้น ๆ ได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ตรัสมาเยี่ยงนี้ เจ้าเข้าใจหรือไม่”
(ก็รับว่า เข้าใจ)
๘. “ถึงจุดนี้
พยายามตัดความสนใจในจริยาของคนอื่นให้มาก ๆ งานฝึกฝนการรู้จิตนั้น จักต้องทำให้ได้ตลอดเวลา จึงไม่สมควรให้จิตเสียเวลา เพราะเรื่องของคนอื่นให้มากนัก ยกเว้นการเกี่ยวเนื่องด้วยเหตุที่จำเป็นอันหลีกเลี่ยงไม่ได้”
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๖
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
www.tangnipparn.com