เปรียบเหมือนมะม่วงสุกหวาน เบื้องต้นเป็นลูกมีรสขม โตขึ้นมาหน่อยมีรสฝาด
โตขึ้นอีกมีรสเปรี้ยว โตขึ้นมาอีกมีรสมัน โตขึ้นมาจึงจะมีรสหวาน
รสทั้งหมดตั้งต้นแต่รสขมจนกระทั่งรสหวาน มันจะเก็บเอามารวมไว้ในที่เดียว
มะม่วงนั้นจึงจะได้ชื่อว่ามีรสดี นี้ก็ฉันนั้น
เหมาะแล้วฌานพระสังคาหกาจารย์เจ้าท่านไม่เรียกว่าวิปัสสนา เพราะเป็นของเสื่อมได้
วิปัสสนานั้น ไม่ว่าจะพิจารณาคำบริกรรม หรือธรรมทั้งหลาย มีธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ เป็นต้น
พิจารณาให้รู้แจ้งตามเป็นจริงของมันแล้วปล่อยวาง แล้วเข้าอยู่เป็นกลางวางเฉย เรียกว่า วิปัสสนา
วิปัสสนา แปลว่ารู้แจ้ง เห็นจริงตามสภาพ ของมัน
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน
ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว...
กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน
อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ
กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายท่าขนุน : 17-08-2010 เมื่อ 16:57
|