ถาม : คำว่า วิมุตติ กับคำว่า รู้แล้วสลัดคืน ความสมบูรณ์นั้นเป็นคนละเรื่องกันเลย
ตอบ : คนละเรื่องกัน วิมุตตินั้นเราพ้นไปแล้วแน่ ๆ แต่รู้แล้วสลัดคืนยังต้องพยายามทำอยู่
ถาม : แต่ความสมบูรณ์ของความดับ หรือความเร่าร้อนของกิเลสที่ดับ มันเกิดมันดับ เหมือนกับว่าเราไม่ต้องไปทำอะไร เพียงแต่ว่ารู้ทุกอย่างให้ชัดเจนจากใจถึงใจ มองทุกอย่างด้วยสายตาที่มองก็เหมือนไม่มอง ก็จะเป็นธรรมดาของมันเอง
ตอบ : สักแต่ว่าเห็น ในเมื่อสักแต่ว่าเห็น จิตไม่ได้ไปนึกถึงปรุงแต่ง ไม่สร้างกรรมต่อ ก็จะจบ แต่ถ้าหากว่าเริ่มสร้างกรรมแม้แต่นิดเดียว ก็จะเกิดการหมุนวนต่อไป
ทีนี้ตัววิมุตตินั้นเข้าถึงความสงบอย่างแท้จริงแล้ว ส่วนลักษณะรู้แล้วสลัดคืน เรายังต้องใช้ความพยายามในการทำอยู่
ถาม : อย่างสมาธิที่มี ก็เหมือนกับว่าเป็นธรรมดาที่เป็นอย่างนั้น เหมือนกับว่า มีคนหนึ่งที่ทำสมาธิไปตามเหตุผล เหมือนกับว่ามีญาณรู้เห็นความจริงในตรงจุดนั้น
ตอบ : สมาธิจริง ๆ ยังเป็นเครื่องปรุงแต่งของจิต เพียงแต่ว่าเป็นการปรุงแต่งที่ผู้รู้..รู้ว่า ปรุงแล้วใช้ประโยชน์อะไร ก็จะเป็นเครื่องสนับสนุนให้เราไปเสริมในการใช้ปัญญาเพื่อการหลุดพ้นได้ แต่ถ้าหากว่าไม่รู้..ก็จะทำให้ยึดติด แล้วในที่สุดก็จะเกาะอยู่กับตัวสมาธิ หลุดพ้นไม่ได้ ก็จะติดอยู่ที่พรหม
ดังนั้น..ในพรหมชาลสูตรที่พระพุทธเจ้าท่านเทศน์ถึงลัทธิ ๖๒ อย่าง คำว่าพรหมชาลสูตร คนเขาพยายามแปลกันว่า ข่ายคือพระญาณอันประเสริฐของพระพุทธเจ้า ใช้คำว่าพรหมโดยแปลว่าเป็นผู้ประเสริฐ ชาละ คือ ตาข่าย เขาบอกว่าข่ายคือพระญาณอันประเสริฐของพระพุทธเจ้า ที่ทำให้รู้เห็นชัดเจนว่าลัทธิอื่นมีถึง ๖๒ ลัทธิ
ตรงนี้จริง ๆ แล้วควรจะแปลว่า ตาข่ายที่ดักให้อยู่แค่พรหม ไปเกินนั้นไม่ได้ เพราะไปยึดติด (พรหมชาละ = ตาข่ายดักพรหม)
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-07-2010 เมื่อ 03:12
|