ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 27-05-2010, 09:43
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,897 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default อนุสติสุดท้าย คือ มรณานุสติควบอุปสมานุสติ

อนุสติสุดท้าย คือ มรณานุสติควบอุปสมานุสติ


ในคืนวันที่ ๑๗ มิ.ย. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐมทรงพระเมตตามาตรัสสอนว่า

๑. “การระลึกนึกถึงความตาย จงอย่าทำจิตให้เศร้าหมอง เพราะนั่นเป็นความจริงของร่างกาย การควบอุปสมานุสติให้ทรงตัวก็เพื่อระลึกไว้เสมอถึงความสุขที่จักได้รับ เมื่อจิตผละไปจากร่างกายที่เต็มไปด้วยความทุกข์นี้แล้ว”

๒. “เห็นความจริงในกายคตานุสติ ควบอสุภะของร่างกายไว้เนือง ๆ เพื่อทำลายความหลงของร่างกาย ซึ่งเต็มไปด้วยความไม่เที่ยงและสกปรกนี้ จิตก็จักยอมรับและคลายความกำหนัดในร่างกายนี้ลงได้”

๓. “เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้ ก็กำหนดรู้ว่า ร่างกายทั้งภายนอกและภายในมีสภาพเหมือนกันหมด การทรงชีวิตอยู่เต็มไปด้วยความทุกข์ มีหิว กระหาย ร้อน หนาวเกินไป ปวดอุจจาระและปัสสาวะ เป็นต้น ให้รู้อยู่อย่างนี้เป็นปกติ”

๔. “เจ้าอย่าได้ละกรรมฐานกองสำคัญเหล่านี้ ออกไปจากจิตเป็นอันขาด เพราะเป็นตัวตัดสักกายทิฏฐิตรง หมั่นศึกษาพิจารณา เรียนรู้ นำมาปฏิบัติเข้าไว้ให้จิตมันชิน โดยควบคู่กับอานาปานุสติกรรมฐานทุกกอง เพื่อเป็นการไม่ประมาทในชีวิต ร่างกายมันไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง

ดั่งองค์สมเด็จปัจจุบันได้ตรัสไว้แล้วในเรื่องเปสการีธิดา ขอให้เจ้านำมาคิดและพิจารณาให้ดี ๆ จักได้มีปัญญาเรียนรู้ปฏิบัติธรรมให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป” (ก็คิดตามที่พระองค์ทรงแนะ ก็พบว่านางขาดใจตายอย่างกระทันหันจากกระสวยเหล็กพุ่งมากระทบอก ขาดใจตายในชั่วขณะจิตเท่านั้น)

๕. ทรงตรัสว่า “ผู้ประมาทไม่ระลึกนึกถึงความตาย ย่อมเตรียมจิตไม่ทัน แต่ผู้ที่ระลึกนึกถึงความตาย หมั่นแสวงหาอริยทรัพย์ไว้ด้วยจิตมั่นคง กำหนดรู้อยู่เสมอว่า จิตนี้จักต้องโคจรจากร่างกายเมื่อตายแล้ว จักตรงไปยังสถานที่ใด บุคคลผู้นั้นจึงได้ชื่อว่าถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทด้วยชีวิต”

๖. “หมั่นตรวจสอบอารมณ์จิตให้ดี ๆ อย่าให้มีความเศร้าหมองค้างอยู่ในใจ ไม่ว่าอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง พอใจหรือไม่พอใจ จัดว่าเป็นกิเลสที่ทำจิตให้เศร้าหมอง ถ้าหากเจ้าไม่อยากสู่ภพสู่ชาติอีกต่อไป มองอารมณ์ของจิตเอาไว้ให้ดี ๆ และจงหมั่นทบทวนจุดหมายปลายทางของจิต คือ กำหนดอารมณ์พระนิพพานไว้เสมอ รู้หนทางโคจรของจิต หนทางใด ซึ่งไม่ใช่มรรคผลนิพพาน ก็จงหมั่นตัดอารมณ์นั้นให้หลุดออกไปจากใจ”

๗. “ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยความเพียร ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เอาอิทธิบาท ๔ ทบทวนธรรมที่เกิดกับจิตอยู่เสมอ แล้วมรรคผลนิพพานจักได้แน่”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 27 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา