๒. จากนั้นสมเด็จองค์ปฐม ทรงเสด็จมาเป็นประธาน ทรงตรัสว่า เราทุก ๆ พระองค์จักพอใจมาก ถ้าหากเจ้าสามารถปฏิบัติตามข้อวัตรของเนกขัมมบารมีให้มีผล เพราะเป็นจุดประสงค์ตรงความต้องการของเราทุก ๆ พระองค์ จักขนเหล่าสัตว์ทั้งหลายให้เข้าถึงพระนิพพาน ด้วยการบวชในเนกขัมมบารมี คือ การบวชเพื่อความดับไม่มีเชื้อ ดับกิเลส คือ สังโยชน์ ๑๐ ให้หลุดออกไปจากการยึดเกาะของจิต จงตั้งใจไว้ในเนกขัมมบารมี หมั่นทำตามข้อวัตรปฏิบัตินี้ให้เกิดขึ้นกับจิตอยู่เนือง ๆ ระลึกถึงหลักปฏิบัตินี้อย่าให้ขาด มีศีล สมาธิ ปัญญา ตั้งอยู่เฉพาะหน้าเป็นประจำ จึงจักยังจิตให้ถึงพร้อมตามหลักคำตรัส พระโอวาทปาฎิโมกข์นั้น ๆ
๓. เมื่อเจ้าคิดได้โดยตั้งใจเอาเนกขัมมบารมีเป็นบาทแรกแล้ว ต่อไปเมื่อทบทวนบารมี ๑๐ ก็จงเอาเนกขัมมบารมีขึ้นหน้า แล้วนำมาเป็นข้อวัตรปฏิบัติ ดึงเอาบารมีอีก ๙ ประการมาเป็นองค์ประกอบ จุดนี้จักทำให้บารมี ๑๐ ของเจ้าเต็มได้
๔. จงหมั่นระวังขันธมารและกิเลสมารเข้ามาขัดขวาง การทำความเพียรในเนกขัมมบารมีนี้ด้วย
|