ง) ในการปฏิบัติเรื่องจิตในจิต และธรรมในธรรม หมายความว่า จิตในจิต ให้รู้อารมณ์ของจิตตลอดเวลา เมื่อถูกกระทบด้วยอายตนะสัมผัส ๑๒ คือ ภายนอก ๖ (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและธรรมารมณ์) ภายใน ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ)
ธรรมในธรรม มีหลักสำคัญว่า ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ ทุกสิ่งสำเร็จได้ที่ใจ พระธรรมเกิดจากจิตในจิต (อายตนะนอกและในกระทบกัน) เป็นอภิธรรมได้ถึง ๔๒,๐๐๐ บท ย่อแล้วเหลือแค่ ๓ คือ ธรรมที่เป็นกุศล (กุศลาธัมมา) ธรรมที่เป็นอกุศล (อกุศลาธัมมา) และธรรมที่เป็นกลาง ๆ (อัพยากตาธัมมา หรืออัพยากฤตธรรม) มีรายละเอียดอยู่มากตามระดับจิตในจิต และธรรมในธรรม หมายความว่า จิตละเอียดระดับไหนก็รู้ธรรมได้ละเอียดระดับนั้น ซึ่งจริง ๆ แล้วมีถึง ๘๔,๐๐๐ บท
จ) ธรรมทั้ง ๔ อย่างนี้ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ล้วนเกิดดับ ๆ ตลอดเวลา เป็นสันตติธรรม รู้หรือสัมผัสรู้ได้ด้วยตาปัญญาเท่านั้น ว่าธรรมทั้ง ๔ ตัวนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ผู้ที่ไปรู้ธรรมทั้ง ๔ ตัวนี้คือจิต
จิตคือตัวเรา เป็นผู้รู้อย่างแท้จริง และต้องรู้อยู่ตลอดเวลา ด้วยการมีสติต่อเนื่องไม่ขาดสาย หรือมหาสติปัฎฐานนั่นเอง แต่เวลานำไปปฏิบัติแล้ว ปรากฎว่ามันง่ายนิดเดียว เพราะหลักสูตรมหาสติปัฏฐานนี้ พระองค์ทรงตรัสว่าเป็นทางสายเอกในการบรรลุธรรม มีผล ๒ อย่าง คือ ขั้นต้นเป็นอนาคามีผล ขั้นสองเป็นอรหัตผล จึงถึงบางอ้อว่ามันง่ายนิดเดียว
|