ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 06-05-2010, 15:31
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 188,897 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๗. “รวมความว่า ในเมื่อเจ้าเบื่อไม่อยากมีขันธ์ ๕ เจ้าก็สมควรเบื่ออารมณ์ราคะกับปฏิฆะ ที่ทำให้ต้องกลับมามีขันธ์ ๕ ด้วย มองดูทุกข์ มองดูโทษของอารมณ์ทั้ง ๒ นี้ด้วยตาปัญญาเถิด”

๘. “กำหนดอานาปานุสติให้จิตมีกำลัง มีสติทรงตัว แล้วกำหนดรู้ทุกข์นั้นช้า ๆ”

๙. “จงหมั่นกระทำประดุจเดียวกันกับการพิจารณาขันธ์ ๕ คือ หมั่นแยกแยะอารมณ์ให้ละเอียดลงไปตามลำดับ หามูลเหตุให้ได้ว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอารมณ์นั้น ๆ”

๑๐. “อย่าคิดว่าง่าย รู้แล้วเป็นอันขาด เพราะกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม มันครอบงำบดบังจิตได้ง่าย ๆ นิวรณ์เข้าแทรกเมื่อไหร่ ปัญญาที่จักเห็นต้นเหตุที่เกิดอารมณ์นั้น ๆ มันก็หมดไป มองไม่เห็นและมักจักเกิดอารมณ์โง่ คือ เข้าข้างตนเอง ปล่อยให้จิตตกเป็นทาสอารมณ์ที่ถูกกิเลสนั้น ๆ เข้าครอบงำ

ตัวอย่างที่เจ้าตกอยู่ในสภาพหดหู่ เศร้าหมอง เพราะคิดถึงท่านฤๅษี ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าไม่ดี (ทรงเน้นสอนเพื่อนผู้ร่วมปฏิบัติธรรมของผมโดยเฉพาะ) แต่จิตก็ไม่มีปัญญา ที่จักแก้ไขอารมณ์หลงนี้ให้หลุดไปจากจิตได้

แต่ถ้าเจ้าทำตามขั้นตอนนี้ที่ตถาคตได้กล่าวมาแล้วนั้น ใช้อานาปานสติคุมจิตให้มีสติ ให้มีกำลัง ดึงอารมณ์จิตให้ช้า พิจารณากำหนดรู้ทุกข์ รู้โทษของอารมณ์ หมั่นแยกแยะอารมณ์ให้ละเอียดลงไปตามลำดับ ในที่สุดเจ้าก็จักละอารมณ์หดหู่เศร้าหมองได้ อารมณ์ใดเกิดก็ให้ละอารมณ์นั้น ด้วยจิตที่มีสติ มีกำลัง ในที่สุดก็จักละอารมณ์เหล่านั้นลงได้ตามลำดับ”

๑๑. “กำหนดรู้ให้มาก แต่อย่าทำอารมณ์จิตให้เครียด จงหมั่นอาศัยอานาปานุสติยังจิตให้เข้าถึงฌาน อารมณ์จักเบา”

๑๒. “สำหรับการพิจารณา ก็พยายามรักษาอารมณ์ให้อยู่ในขั้นปฐมฌานเข้าไว้ จิตจักมีกำลังระงับนิวรณ์ ๕ และจักทำวิปัสสนาญาณไปด้วยดี ใคร่ครวญคำสอนเรื่องอารมณ์นี้ให้มาก ๆ”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา