ธรรมเนียมปฏิบัติแบบนี้ น่าจะมีเฉพาะที่จังหวัดกาญจนบุรีเท่านั้น เพราะหลวงพ่อไพบูลย์ท่านบอกว่า "พวกเราเป็นบ้านป่าเมืองดอย มีอะไรในท้องถิ่นก็เอามาตามนั้น เรื่องเงินเรื่องทองเป็นของหายาก พวกแกไม่ต้องเอามาให้ข้า" บรรดาเจ้าคณะปกครองระยะหลัง ๆ ก็สืบแบบธรรมเนียมนี้มาจนถึงปัจจุบัน
แต่กระผม/อาตมภาพเป็นคนขี้เกียจ อันดับแรกก็คือขี้เกียจไปเสาะหาผลิตผลตามไร่ตามสวนต่าง ๆ อันดับที่สองก็คือ ถ้าทุเรียนสุกอยู่บนรถ กระผม/อาตมภาพก็จะมีรถกลิ่นทุเรียนไปเกือบอาทิตย์..! จึงเปลี่ยนเป็นปัจจัยใส่ซอง ถวายผู้บังคับบัญชาไป ซึ่งคนอื่นก็ให้อภัย เพราะเขาบอกว่า "หลวงพ่อเล็กรวย..!"
ความจริงกระผม/อาตมภาพเป็นคนขี้เกียจ อะไรที่แก้ปัญหาด้วยเงินได้ กระผม/อาตมภาพจะแก้ปัญหาด้วยเงินเสมอ เนื่องเพราะว่าเป็นคนไม่หวงเงิน รู้ว่าเงินจะต้องมาแบบไม่มีวันหมดอยู่แล้ว
ครั้นถึงเวลา กลับเข้าสู่ที่พักแล้ว ก็ได้มาบันทึกเสียงธรรมจากวัดท่าขนุนในวันนี้ เพื่อที่จะให้ท่านทั้งหลายได้รับฟังกันต่อเนื่อง ไม่ขาดช่วงลงไป
สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
วันศุกร์ที่ ๑๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๘
(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : วันนี้ เมื่อ 01:46
|