๓) อมูฬหวินัย เป็นการที่ให้คณะสงฆ์ประกาศให้รู้ทั่วกันว่า บุคคลซึ่งเป็นบ้า ขาดสติ ทำสิ่งหนึ่งประการใดที่บุคคลทั่วไปกระทำแล้วต้องอาบัติ เมื่อรักษาท่านหายเป็นปกติแล้ว ให้ถือว่าท่านไม่ได้ละเมิดอาบัติข้อนั้น ก็คือเท่ากับว่าไม่ได้ทำผิด เพราะว่าเป็นการกระทำตอนที่ขาดสติ หรือเพ้อคลั่งด้วยพิษไข้
๔) ปฏิญญาตกรณะ เป็นการปรับโทษตามที่ผู้นั้นสารภาพเอง เพราะว่าบุคคลสมัยก่อนเป็นผู้ละอายชั่วกลัวบาป และมีสัจจะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถามว่า "ดูก่อน..โมฆบุรุษ เธอได้กระทำสิ่งนั้นหรือ ?" ก็มักจะรับว่า "พระพุทธเจ้าข้า"
เราจะเห็นว่าบุคคลที่ดื้อรั้นสุด ๆ ไม่ว่าจะเป็นภิกษุฉัพพัคคีย์ก็ดี หรือว่าท่านอุปนันทศากยบุตรก็ตาม แต่เขาทั้งหลายเหล่านั้นมีความดีก็คือยอมรับความจริง ถ้าผิดก็รับว่าผิด แต่สมัยนี้ทุกท่านจะเห็นว่า บุคคลประเภทนี้กลายเป็นสิ่งที่หาได้ยาก ถ้าหากว่าเป็นภาษิตจีนก็ประมาณ "ขนหงส์ เขากิเลน" คือไม่ต้องไปหวังว่าจะปรากฏขึ้นในโลกนี้ง่าย ๆ..!
อาบัติทั้งหลายเราต้องทันทีที่ทำ แต่บุคคลสมัยนี้ คุณปรับอาบัติเขาก็ขออำนาจศาล ศาลชั้นต้นตัดสินว่าผิดก็ร้องศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ตัดสินว่าผิดก็ร้องศาลฎีกา ต่อให้ศาลฎีกาตัดสินว่าผิด ก็อาจจะไปร้องศาลปกครองต่อไป กลายเป็นว่าบุคคลยุคนี้หาที่ละอายชั่วกลัวบาปได้ยาก ดังนั้น..วิธีตัดสินอธิกรณ์ข้อปฏิญญาตกรณะจึงเป็นเรื่องยากสำหรับยุคนี้
ข้อต่อไปก็ยากเหมือนกันก็คือ ๕) ตัสสปาปิยสิกา จากที่กระผม/อาตมภาพตัดสินความมาก็เจอเยอะมาก ก็คือการตัดสินลงโทษแก่ผู้กระทำผิดที่ไม่ยอมพูดอะไร เนื่องเพราะว่าท่านทั้งหลายเหล่านั้นไม่ทราบเหมือนกันว่าไปมีแนวคิดอย่างไร ประมาณว่า "ถ้ากูไม่พูดแปลว่าไม่ผิด" "ถ้ากูไม่รับแปลว่าไม่ผิด" เพราะฉะนั้น..สอบถามอะไรก็หุบปากเงียบ ไม่พูดสักคำ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงให้ตัดสินโทษไปตามที่เขาฟ้องร้อง
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-07-2025 เมื่อ 01:58
|