ดูแบบคำตอบเดียว
  #5  
เก่า 24-04-2025, 00:29
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,429 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในส่วนของ "กระจาด" นั้น จะมีเครื่องประกอบก็คือ ไม้คาน ต้องหาไม้ไผ่แก่ ๆ มาเหลา บุคคลที่เหลาจะต้องรู้จังหวะว่าไม้ไผ่ตรงกลางจะต้องหนาเท่าไร ? ตรงปลายจะต้องหนาเท่าไร ? แล้วก็ยังมีการทำข้อไม้ไผ่ตรงจุดปลายไม้คานนั้นเป็นเครื่องกั้น เพื่อที่จะไม่ให้หูกระจาด ซึ่งส่วนใหญ่ทำด้วยหวาย เอากระจาดวางไว้ด้านใน เพื่อที่จะให้หูตรงนั้นเกี่ยวติดกับข้อของไม้ไผ่ ถ้าหากว่าเป็นคนที่เหลาไม้คานเก่ง ๆ ถึงเวลาผู้หญิงหาบ ไม้คานจะอ่อนขึ้นลงเป็นจังหวะตามจังหวะการเดิน..น่าดูมาก ๆ..!

แต่ว่าที่บ้านส่วนใหญ่ใช้ในการหาบน้ำ ในเมื่อใช้ไม้คานในการหาบน้ำ ก็เลยใช้ "ไม้จริง" อย่างเช่นว่าไม้มะเกลือบ้าง ไม้ชิงชันบ้าง แล้วสามารถใช้เป็นอาวุธได้ด้วย เพราะว่าหนักมาก ๆ กระผม/อาตมภาพมั่นใจว่า ถ้าหากใครโดนตีด้วยไม้คานแบบนั้น ถ้าตั้งใจ..รับรองว่าตายภายในครั้งเดียว..!

อาวุธในสมัยนั้น ส่วนใหญ่แล้วก็เป็น "มีดซุย" หรือว่า "มีดปาดตาล" หรือว่า "มีดพร้า" ที่พกติดเอวอยู่ ทุกเล่มล้วนแต่ลับคมกริบทั้งนั้น..! มีการทำฝักให้เข้ากับตัวมีดได้อย่างสวยงาม บางคนก็สานด้วยหวาย บางคนก็ใช้ไม้แกะ แล้วก็สานหวายรัดปลอกมีดไว้อย่างงดงาม ยิ่งใช้ก็ยิ่งสวย ยิ่งใช้ก็ยิ่งคม เป็นของคู่ตัว ไม่ว่าผู้หญิงหรือว่าผู้ชาย ถึงขนาดมีภาษิตว่า "เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า" ก็คือถ้าจะเข้าป่าต้องเอามีดไปด้วย ขอเพียงมีมีดเท่านั้น จะหาอยู่หากินนานสักเท่าไรก็ได้

อาวุธอีกอย่างหนึ่งก็คือ "ไม้คมแฝก" ถ้าหากว่าเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรู้ความสามารถ หรือว่ามีฐานะ ก็มักจะเปลี่ยนจากคมแฝกเป็น "ไม้ตะพด" ส่วนใหญ่ก็จะหาไม้ไผ่ตันแล้วก็เอามาเลี่ยมทองเหลืองบ้าง เลี่ยมทองแดงบ้าง บางคนฐานะดีหน่อยก็เลี่ยมนาก แต่ไม่เคยเห็นใครเลี่ยมทอง เพราะว่าต้องใช้งานจริง ๆ..!

มีลุงหมอที่ชื่อ "หมอพร" เป็นหมอประจำตำบลในการรักษาโรคด้วยสมุนไพร หมอพรใช้ไม้ไผ่พิเศษที่เรียกว่า "ไม้ไผ่จระเข้ขบฟัน" เห็นว่าสามารถทำลายอาถรรพ์ได้ด้วย คนต่อให้เหนียวเท่าเหนียว โดนไม้ไผ่หมอพรหวดเข้า ก็มีหวัง "กระอัก" ไปตาม ๆ กัน..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-04-2025 เมื่อ 00:54
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา