ดูแบบคำตอบเดียว
  #7  
เก่า 22-04-2025, 01:13
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,271 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้ามีงานใหญ่ ๆ แล้วไม่มีไฟฟ้า ก็จะมีตะเกียงเจ้าพายุ ซึ่งเป็นตะเกียงที่มีโคมแก้วกันลม แล้วก็มีไส้ซึ่งทำด้วยใยหิน จะมีการบรรจุน้ำมันก๊าดเข้าไป แล้วใช้แอลกอฮอล์เป็นตัวล่อ ถึงเวลาก็เผาหัวให้ร้อน เมื่อร้อนได้ที่แล้วก็จะมีสูบให้สูบลม ถึงเวลาพอสูบลมได้ที่ ก็จะทำให้น้ำมันก๊าดนั้นฉีดเป็นฝอยเข้าไป หล่อเลี้ยงจนกระทั่งแร่ใยหินนั้นลุกสว่างโพลงขึ้นมา ซึ่งในสมัยนั้น พวกเราเห็นว่าสว่างกว่าพระจันทร์วันเพ็ญเสียอีก..! แต่ว่ามีจุดอ่อนอยู่เหมือนกัน ก็คือพักใหญ่ ๆ ก็ต้องไปสูบลมเพิ่ม ไม่เช่นนั้นแล้วถ้าหากว่าลมหมด ตะเกียงก็จะดับลง หรือถ้าน้ำมันหมด ตะเกียงก็จะดับลงเช่นกัน

ส่วนใหญ่เอาไว้ใช้ในงานใหญ่ ๆ อย่างเช่นว่างานแต่ง งานบวช ที่จะต้องมีการเตรียมข้าวเตรียมของจนค่ำคืน หรือไม่ก็ใครมีฐานะดีก็ไปเช่าเครื่องปั่นไฟ ซึ่งจะมีหลอดไฟแบบที่ปัจจุบันเรียกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์บ้าง หลอดกลมบ้าง เอาไว้สำหรับใช้ในงานของตน แสดงออกซึ่งฐานะว่าร่ำรวยพอ ถึงสามารถที่จะปั่นไฟฟ้าใช้เองได้

ตะเกียงอีกแบบหนึ่งนั้น ส่วนใหญ่เอาไว้ "ส่องกบ" ก็คือตะเกียงแก๊ส จะเอาก้อนแก๊สอะเซทิลีนบรรจุเข้าไป แล้วเทน้ำใส่ ก้อนแก๊สนั้นก็จะละลายแล้วก็เป็นไอแก๊สขึ้นมา ถึงเวลาเราเปิดแก๊สแล้วจุด จะเป็นเปลวยาว ๆ โดยที่มีกรวยเคลือบสังกะสีเงา ๆ อยู่ ทำให้ช่วยเพิ่มแสงสว่างได้

ถ้าหากว่าบ้านคนมีเงินหน่อยก็จะใช้ในการส่องกบ ถ้าไม่มีเขาก็จะใช้ไต้ หรือบางคนเรียกว่า "ขี้ไต้" ซึ่งเป็นเศษไม้ป่น ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นขี้เลื่อย ผสมกับน้ำมันยาง แล้วก็ห่อด้วยเปลือกไม้ บ้าง ใบไม้บ้าง มัดเป็นเปลาะ ๆ จนกระทั่งภายหลังใครมัดอะไรเป็นเปลาะ ๆ อย่างเช่นว่า มัดขนมข้าวเหนียวนึ่ง เขาก็จะเรียกกันว่า "ขนมมัดไต้" เป็นต้น

ถึงเวลาก็จุด แล้วก็เอาไปส่องกบ หรือว่าเดินทางตอนกลางคืน แล้วก็มักที่จะมืดมิดแล้วก็จะดับลงอยู่ตลอดเวลา ต้องคอยเขี่ยขี้ไต้เอาไว้ เพื่อที่ให้ของเก่าร่วงหล่นไป แล้วของใหม่ก็จะได้ติดสว่างขึ้นมาตามเดิม
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-04-2025 เมื่อ 01:45
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 33 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา