ดูแบบคำตอบเดียว
  #7  
เก่า 29-03-2025, 01:02
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,429 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น..คำว่ามัชฌิมาปฏิปทา หรือความพอเหมาะพอดีจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ไม่ว่าจะทางโลกหรือทางธรรม ต้องมีความพอเหมาะพอดี แล้วมัชฌิมาปฏิปทาไม่มี ๕๐ เปอร์เซ็นต์เป๊ะนะครับ ขึ้นอยู่กับกำลังใจ กำลังกาย กำลังบุญ ที่ท่านสั่งสมมาแต่อดีต

บางคนนั่งกรรมฐาน ๓ วัน ๓ คืนสบายมาก ผมก็เคยไปนั่งแข่งกับเขามาแล้วครับ แต่ว่านั่งไปก็ด่าไป "โคตรพ่อโคตรแม่มึงจะนั่งอะไรนานขนาดนี้ เจ็บตูดฉิบหายเลย..!" เรานั่ง ๓๐ นาทีจะไม่รอดแล้ว เพราะฉะนั้น..มัชฌิมาปฏิปทาของแต่ละคนไม่เท่ากัน เราต้องหาจุดพอเหมาะพอดีของตนเองให้ได้

เมื่อถึงเวลา ถ้าท่านทำได้แล้ว ตำราที่ท่านศึกษามา หรือพระไตรปิฎกที่ท่านอ่าน ท่านจะเข้าใจลึกซึ้งยิ่งกว่าเดิมหลายเท่า เนื่องเพราะว่าสภาวธรรมที่เกิดขึ้นนั้น คำพูดและตัวหนังสืออธิบายไม่ได้ครับ บาลีเขาบอกว่าเป็น"ปัจจัตตัง" คือ รู้เฉพาะตน แค่องค์ของสมาธิที่เราว่ามีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตารมณ์ แค่สุขตัวเดียว ท่านก็บอกได้ไม่ถูกแล้วครับว่าอาการเป็นอย่างไร เขาก็พยายามอธิบายว่า "มีความสุขสดชื่นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน" แล้วเป็นอย่างไรละครับ ?

แต่กระผมจะเปรียบเทียบง่าย ๆ ให้ทุกท่านฟังว่า คนเราทุกคนโดนไฟใหญ่ ๔ กอง คือ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เผาอยู่เสมอ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา ร้อนด้วยไฟคือราคะ (โลภะ) โทสะ โมหะ ทันทีที่สมาธิท่านทรงตัวถึงระดับอุปจารสมาธิขั้นปลาย กำลังสมาธิจะกดไฟ ๔ กองนี้ดับลงชั่วคราวครับ ถ้าเราโดนไฟเผาอยู่ตลอดเวลา แล้วอยู่ ๆ ไฟดับลง จะมีความสุขแบบไหน ? อธิบายเป็นภาษามนุษย์ได้ไหมครับ ? อธิบายไม่ได้หรอกครับ รู้อยู่แก่ใจ

ดังนั้น..เรื่องของการศึกษาตำราและการปฏิบัติจึงต้องเป็นของคู่กัน เราจะเห็นว่าในพระไตรปิฎก กล่าวถึงคันถธุระ คือการศึกษาคัมภีร์ วิปัสสนาธุระ คือการปฏิบัติธรรม เพื่อให้รู้เห็นอย่างแจ่มแจ้ง หรือไม่ที่เรามาสรุปกันในรุ่นหลังว่า ปริยัติ ปฏิบัติ ก็คือศึกษาและนำไปทำให้เกิดผล ที่เขาเรียกกันว่าปฏิเวธ (ปะ-ติ-เว-ทะ) หรือ ปฏิเวธ (ปะ-ติ-เวด)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-03-2025 เมื่อ 01:49
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 22 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา