ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 02-04-2010, 00:51
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,395
ได้ให้อนุโมทนา: 157,983
ได้รับอนุโมทนา 4,479,638 ครั้ง ใน 36,004 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๓

ขยับนั่งในท่าที่สบายของเรา เริ่มกำหนดลมหายใจพร้อมคำภาวนาหรือภาพพระของเรา เพื่อสร้างความมั่นคงผ่องใสให้แก่ดวงจิต

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ เป็นการเจริญกรรมฐานวันสุดท้ายของเดือนมีนาคม ณ บ้านอนุสาวรีย์แห่งนี้

เมื่อครู่ได้กล่าวถึงว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงฝากพุทธศาสนาเอาไว้กับพุทธบริษัททั้ง ๔ ญาติโยมทั้งหลาย ก็คือ ฝ่ายของอุบาสกบริษัท และฝ่ายของอุบาสิกาบริษัท

การที่เราจะยังพระพุทธศาสนาให้เจริญนั้น ก็คือการที่เราจำเป็นต้องศึกษา ไม่ว่าจะเป็นด้านปริยัติ ด้านปฏิบัติ หรือด้านของปฏิเวธ ให้เข้าใจลึกซึ้งอย่างแท้จริงและทำจนเกิดผล เมื่อผลนั้นเกิดแล้ว สามารถนำไปสั่งสอนคนอื่นต่อได้ด้วย

ผลที่ควรจะเกิดขึ้นนั้น ควรจะเกิดในด้านใดบ้าง ? พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ให้ศึกษาในเรื่องของ อธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา

ในเรื่องของอธิศีลนั้น ให้พวกเราทั้งหลายรักษาศีลตามสภาพของตน จะเป็นศีล ๕ กรรมบถ ๑๐ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ก็ให้เป็นไปตามสภาพ แต่มีข้อแม้ว่า ให้ตั้งกำลังใจให้มั่นคงถึงระดับที่ว่า ตัวตายดีกว่ายอมให้ศีลขาด เมื่อรักษาศีลทุกสิกขาบทได้โดยเด็ดขาด ก็อย่ายุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเขาละเมิดศีล ตลอดจนเห็นผู้อื่นละเมิดศีลเราก็ไม่ยินดีด้วย ถ้าทำดังนี้ได้ก็ได้ชื่อว่า เราได้ปฏิบัติในอธิศีลส่วนหนึ่ง

แต่ถ้าจะให้เป็นอธิศีลอย่างแท้จริง ก็ให้เรากำหนดพิจารณาในเรื่องของศีลในแต่ละวัน ว่ามีข้อบกพร่องตรงไหนบ้าง ? ที่จะต้องระมัดระวังแก้ไข และประคับประคองรักษาไว้ไม่ให้ขาดอีก ให้ใช้ลมหายใจเข้าออก ควบกับการพิจารณาในศีลของตน

และถ้ามีปัญญาเห็นว่าการรักษาศีลนั้น ถึงแม้เราตั้งใจรักษาเพียงไรก็ตาม สภาพร่างกายนี้ก็เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปในท่ามกลาง และสลายไปในที่สุด ไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นตนให้ยึดถือมั่นหมายได้อย่างแท้จริง ถ้าอย่างนี้ท่านทั้งหลายก็สามารถที่จะถอนกำลังใจของตน ที่พอใจในร่างกายนี้ พอใจในโลกนี้ออกเสียได้ เมื่อถอนกำลังใจออกเสียได้ ก็สามารถที่จะหลุดพ้นออกจากวัฏสงสารเข้าสู่พระนิพพาน ก็ได้ชื่อว่าท่านได้ปฏิบัติในอธิศีล คือ เป็นศีลอย่างยิ่งที่แท้จริง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 05-04-2010 เมื่อ 16:27
สมาชิก 56 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา