ขอบิณฑบาต..ยุติกฎหมายมหาภัยต่อคลังหลวง
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ รัฐบาลเตรียมเสนอร่าง "กฎหมายรวมบัญชี" ๒ ฉบับในชื่อ "ร่างพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. ..." และ "ร่างพระราชบัญญัติเงินตรา (ฉบับที่...) พ.ศ. ..." ร่างกฎหมายทั้งสองฉบับนี้ มีเนื้อหาเป็นการทำลายหลักการและเจตนารมณ์เดิมของ "คลังหลวง" โดยสิ้นเชิง เนื่องจากในอดีตบูรพมหากษัตริย์ไทยทรงก่อตั้ง "คลังหลวง" เพื่อรักษาทรัพย์กองนี้ไว้อย่างมั่นคงปลอดภัย เป็นหลักประกันชาติ มิได้หวังเอาทรัพย์กองนี้ไปลงทุนหวังเก็งกำไรแต่อย่างใด สอดคล้องกับเจตนารมณ์ขององค์หลวงตาและพี่น้องประชาชน ที่ต้องการนำ "เงินบริจาค" เข้าสู่จุดที่มั่นคงปลอดภัยสูงสุด คือ"คลังหลวง" แห่งนี้ เพื่อเพิ่มพูนให้แน่นหนามั่นคงยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ในขณะที่รัฐบาลกลับทำตรงกันข้าม โดยเสนอ "ร่างกฎหมายรวมบัญชี" เพื่อยุบคลังหลวงทิ้งไป โดยรวบเอาทรัพย์สินทั้งหมดของคลังหลวงที่เก็บใน "ฝ่ายออกบัตร" ยึดเอามาเป็น "ฝ่ายการธนาคาร" เสียทั้งหมด นั่นคือ การให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างเต็มที่ ในการบริหารจัดการสินทรัพย์ในคลังหลวง เป็นการทลายกำแพงให้ธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถหยิบฉวยเอา "เงินเก็บ" หรือ "เงินมั่นคง" ในคลังหลวงไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงสูง ถึงขั้นอาจพาชาติล่มจมได้ในที่สุด
เมื่อรัฐบาลได้เสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ องค์หลวงตาท่านขอบิณฑบาตรัฐบาล "อย่าแตะคลังหลวง" ในทันทีอย่างน้อย ๓ ครั้ง ขอให้ยกเลิกไป ครั้งแรกคือ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๓ ครั้งที่สอง ๓๑ มีนาคม และครั้งที่สาม ๒ พฤษภาคม ปีเดียวกัน โดยท่านได้กล่าวไว้ว่า
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 22-12-2024 เมื่อ 01:22
|