"พากันจำเอานะลูกศิษย์ลูกหา วันนี้เพียงเผดียงเท่านั้น นี่พูดจริง ๆ ออกมาจากหัวใจจริง ๆ เป็นอย่างนั้นเมื่อคืนนี้ มาข้องตรงนี้ อ้าว..ทำยังไงกัน เกี่ยวกับทางช่วยโลกเราก็ช่วยมากพอ ทางแผ่เมตตาจิตก็แผ่เต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้ว เมื่อคืนนี้มาข้องตรงนี้แก้ไม่ตก ถ้าแก้อย่างนี้แล้วตกแน่ ๆ หนี้สินในเมืองไทยเราตกพรึบเลย
ทำยังไงมันแน่นหัวอก เมื่อคืนนี้ อ้าว..เอาแล้วทีนี้ มาติดตรงนี้ปึ๋งเลยเทียว ติดไม่ใช่ติดน้อย ๆ ติดปึ๋งเลยเทียว ถ้าออกก็ออกแบบปึ๋งเลยเหมือนกัน ออกได้ ไปติดหนี้เขาก็เมืองไทยเราเองเป็นคนไปติด เรียกว่าทำให้ล่มจม ฟื้นกลับคืนมาก็เป็นเมืองไทยคนไทยเราเอง จะเป็นอะไรไป
นี่ละ..วิตกวิจารณ์ แต่เวลามาออกเมื่อคืนนี้ไม่ได้ออกจากการเป็นอารมณ์นะ ไม่ได้เอาอันนี้มาเป็นอารมณ์ พิจารณาตามธรรมดา ๆ วนเข้ามา ๆ แคบเข้ามา ๆ ถึงเมืองไทย คราวนี้อันนี้ออกปึ๋งเสียแล้ว มาถึงเมืองไทยแต่ก่อนก็ธรรมดา เมื่อคืนนี้ไม่ธรรมดาเสียแล้ว ใส่ปึ๋งเลย
การติดหนี้เป็นทุกข์นะ ทุกข์ที่สุดเลย ในธรรมท่านก็บอก ความติดหนี้เป็นทุกข์ที่สุดในโลก ความไม่มีหนี้มีสินเป็นสุขมากในโลก ท่านก็บอกไว้มีในธรรมในบาลี อิณาทานัง ทุกขัง โลเก การติดหนี้เป็นทุกข์มากในโลก ความไม่มีหนี้สินเป็นสุขมากในโลก ท่านแสดงไว้"
พระธรรมเทศนานี้จึงเป็นการประกาศเจตนารมณ์แห่งการกู้ชาติขององค์หลวงตาเป็นครั้งแรก สร้างความฉงนแก่บรรดาศิษย์และประชาชนชาวไทยไม่น้อยทีเดียว และที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนอกเหนือความรู้ของคนทั่วไปในเวลานั้น นั่นคือก่อนที่องค์หลวงตาจะเล่านิมิตนี้เพียง ๒ วัน คือ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ร่วมลงนามเซ็นสัญญากู้เงิน IMF
โดยทำหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent) เป็นครั้งที่ ๒ และได้ทำความตกลงในเงื่อนไขสำคัญระหว่างประเทศไทยกับ IMF ให้ต้องกระทำการตามสัญญา โดยมิได้มาเปิดเผยต่อรัฐสภาหรือสาธารณชนแต่อย่างใด ในเวลานั้นจึงแทบจะไม่มีผู้ใดทราบรายละเอียดของเงื่อนไขดังกล่าวเลย จะมีก็แต่เพียงรัฐบาลและหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่กี่คนเท่านั้น ไม่ต้องกล่าวถึงบรรดาศิษยานุศิษย์ขององค์หลวงตาที่อยู่วงนอก ยิ่งไม่มีทางจะล่วงรู้ได้
อย่างไรก็ตาม มหันตภัยในสนธิสัญญาฉบับนี้ ไม่อาจปิดบังญาณความรู้ขององค์หลวงตาไปได้ เงื่อนไขตอนหนึ่งระบุว่ารัฐบาลต้องดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติเงินตรา โดยอ้างว่าเพื่อให้ดำเนินการของธนาคารแห่งประเทศไทยมีความทันสมัยขึ้น ข้อตกลงกับ IMF ในเรื่องนี้ได้ปรากฏชัดเจนในอีก ๓ เดือนต่อมา
เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้ทำหนังสือที่ ธปท.ชบ.๑๒๕๙/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๑ ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ใช้แนวทาง "การรวมบัญชี" ของฝ่ายการธนาคาร และ ฝ่ายออกบัตรเข้าด้วยกัน จนกลายมาเป็น "ร่างกฎหมายรวมบัญชี" ในเวลาต่อมา
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-10-2024 เมื่อ 02:13
|