ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 12-08-2024, 19:07
เผือกน้อย เผือกน้อย is offline
ผู้สนับสนุนเว็บวัดท่าขนุน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2012
ข้อความ: 356
ได้ให้อนุโมทนา: 194,217
ได้รับอนุโมทนา 77,230 ครั้ง ใน 2,914 โพสต์
เผือกน้อย is on a distinguished road
Default

ถาม : คนเราใช้เวลาไปกับการนอนเป็น ๑ ใน ๓ ของชีวิตเลยเลยอยากถามหลวงพ่อเกี่ยวกับการนอนและกับการนอนในสมาธิครับ ถ้าว่าตามคำสอนหรือคำพูดของพระพุทธเจ้า พระอริยเจ้า หรืออ้างอิงตามพระไตรปิฎก คนเราควรจะนอนท่านอนแบบไหนดีครับ ? ผมอ่านมาการนอนตะแคงซ้ายและขวาก็มีข้อดี ข้อเสียของท่านอนนั้น ๆ แต่พระพุทธเจ้าท่านนอนสีหไสยาสน์หรือนอนตะแคงขวาอย่างเดียว อาจจะเป็นเพราะพระพุทธเจ้ามีร่างกายมหาบุรุษไม่เหมือนคนทั่วไป ท่านอนแบบนั้นเลยสบายกับพระวรกายของท่านมากที่สุด เลยสงสัยคนทั่วไปควรจะหัดนอนแบบสีหไสยาสน์ อย่างเดียวดีไหมครับ จะไม่ต้องพลิกตัวไปมา ?
ตอบ : คนทั่วไปนอนท่าไหนก็ต้องขยับเปลี่ยนท่า ผู้มีสติรู้ตัวตลอดเวลาถึงจะรักษาท่านอนได้ ถ้าเชื่อตำราก็นอนตามที่เขาเขียน ถ้าเชื่อพระพุทธเจ้าก็นอนตามพระองค์ท่าน

ถาม : เท่าที่ผมรู้จากหลวงพ่อ คนเราทั่วไปจะตัดหลับ ตอนเข้าฌาน ๑ และผมค้นหาจาก Google เกี่ยวกับการนอนในพระพุทธศาสนา และมีบอกเกี่ยวกับ ตถาคตไสยา คือการนอนในขณะทรงฌาน ๔ เลยอยากถามพระทรงฌานอย่างหลวงพ่อ หรือท่านที่ทรงฌานได้ตามใจนึกเวลานอนแบบทรงฌาน ๔ จะมีผลลัพธ์อะไรเกี่ยวกับด้านสุขภาพไหมครับ ? เช่น ร่างกายแข็งแรง ร่างกายเป็นหนุ่มขึ้น เช่น อายุจริง ๓๐ แต่สุขภาพเหมือนคนอายุ ๑๘ และมีความจำสุดยอด เรียนรู้อะไรก็สะดวกเป็นต้น ?
ตอบ : มีผลคือ พักผ่อนพอก็ทำงานได้มากขึ้น

ถาม : ผมมักจะได้ยินจากผู้ใหญ่จะมีคำพูดว่า ถ้าคนไหนหลับตอนตาย คนนั้นเป็นคนมีบุญเยอะ และถ้าจากที่ทราบคนเราจะหลับได้ในเมื่ออยู่ในฌาน ๑ แปลว่าคนที่หลับตอนที่จะตาย ก็ไปเกิดเป็นพระพรหมง่าย ๆ โดยที่ไม่ต้องมาเสียเวลาฝึกพระกรรมฐานเลยหรือเปล่าครับ ?
ตอบ : การนอนเป็นกัมมวิปากชาฤทธิ์ ไม่มีผลให้เกิดเป็นพรหม ยกเว้นตั้งใจทรงฌานหลับ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-09-2024 เมื่อ 02:53
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 10 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เผือกน้อย ในข้อความที่เขียนด้านบน
กมลโกศลจิต​ (13-08-2024), กฤษฎากร (17-09-2024), เด็กใต้ (12-08-2024), เถรี (13-08-2024), ทายก (13-08-2024), นาย หวังดี (17-09-2024), พุทธภูมิ (12-08-2024), มนตรีหกเก้า (12-08-2024), สุธรรม (12-08-2024)