ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 04-08-2024, 22:54
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,387
ได้ให้อนุโมทนา: 157,933
ได้รับอนุโมทนา 4,479,545 ครั้ง ใน 35,996 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

คราวนี้ในหนังสือสวดมนต์ต่าง ๆ มักจะเขียนเอาง่าย ๆ สะดวก ๆ ว่าเดือนพฤศจิกายนก็คือกัตติกามาสัสสะ ซึ่งไม่ใช่ เพราะว่าเดือนพฤศจิกายนเป็นเดือน ๑๑ ของทางโลก ๆ หรือว่าทางสากล ต้องนับเอาเดือนตามจันทรคติเท่านั้น ดังนั้น..วันนี้ซึ่งเป็นวันแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๘ จึงเป็นวันสุดท้ายของอาสาฬหะมาสัสสะ ก็คือเดือน ๘ พรุ่งนี้เป็นต้นไปจึงจักเป็นสาวะนะมาสัสสะ คือเดือน ๙

ถ้าหากว่าไม่ได้ศึกษาจากครูบาอาจารย์แล้ว ส่วนใหญ่บรรดาพระที่ออกเทศน์ หรือว่าแสดงพระธรรมเทศนาในวาระต่าง ๆ ถ้าบอกศักราชก็มักจะบอกผิด เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะความมักง่ายของผู้ที่ต้องการให้จำบาลีง่าย ๆ โดยการไล่ตามเดือนสากล แล้วเป็นการไล่ส่งเดชแบบไม่รับผิดชอบด้วย..! อย่างเช่นบอกว่าเดือนกรกฎาคมก็คือเดือน ๘ (อาสาฬหะมาสัสสะ) พอไปเดือนสิงหาคมก็คือเดือน ๙ (สาวะนะมาสัสสะ) ซึ่งเป็นการมั่วมากไปหน่อย เพราะว่ายังมีเดือน ๘ ติดมาตั้งหลายวัน

จึงเป็นเรื่องที่บุคคลทั้งหลาย ถ้าหากว่าท่านจะต้องขึ้นเทศน์ ควรที่จะระมัดระวังและศึกษาให้ดี เพราะว่านอกจากวันและเดือนแล้ว เรายังต้องมีปี ก็คือ พุทธศักราชอีกด้วย อย่างเช่นปีนี้ก็คือ พุทธศักราช ๒๕๖๗ ได้แก่ สัตตะสัฏฐะยุตตระ ปัญจะสะตาทิกานิ ทะเวสังวัจฉะระสะหัสสานิ ก็คือ ๒๕๖๗ ซึ่งบุคคลที่นำเอาพระธรรมเทศนาที่กระผม/อาตมภาพแสดงในวันเข้าพรรษา ไปตัดเพื่อจะให้เนื้อหากระชับ ได้ตัดเอาคำว่าสัตตะออกไป

คำว่า สัตตะก็คือ ๗ สัฏฐะก็คือ ๖๐ สัตตะสัฏฐะยุตตระก็คือ ๖๐ มากไป ๗ ได้แก่ ๖๗ ในภาษาไทยนั่นเอง แต่ผู้ฟังคิดว่ากระผม/อาตมภาพพูดซ้ำ ก็เลยตัดคำว่าสัตตะทิ้งไปหน้าตาเฉย..!

เรื่องเหล่านี้ถ้าคนไม่รู้ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าคนรู้เมื่อไร ครูบาอาจารย์ก็เสียหายหนักมาก เขาจะว่าพระอาจารย์เล็ก หรือว่าหลวงพ่อเล็ก ไม่ได้รู้ภาษาบาลีหลักฐานอะไรเลย ว่าไปส่งเดช โดยที่ไม่รู้ว่าเป็นฝีมือของลูกศิษย์ตัวดีนั่นเอง..! จึงเป็นเรื่องที่ท่านทั้งหลายจะต้องเพียรพยายามศึกษาเอาไว้ให้ชัดเจน เนื่องเพราะว่าเลขของภาษาบาลีนั้นก็คล้ายคลึงกับภาษาไทย ก็คือบวกร่วมเข้าไป

เพียงแต่ว่าหลักเลข ๙ นั้นเป็นเรื่องตลก อย่างเช่น ๑๙ ภาษาบาลีจะใช้คำว่า เอกูนะวีสะติ ก็คือ ๒๐ หย่อน ๑ ก็แปลว่า ๒๐ น้อยลง ๑ ได้แก่ ๑๙ นั่นเอง หรือว่า เอกูนัตติงสะ คือ ๓๐ หย่อน ๑ ก็คือ ๒๙ นั่นเอง ทำให้บรรดาผู้ที่เรียนบาลีนั้นปวดหัวกับสังขยา คือการนับเลขแบบภาษาบาลีเป็นอย่างยิ่ง ถ้าไม่ใช่ศึกษากันชนิดเข้าถึงจริง ๆ ก็คงจะโยนตำราทิ้ง บอกว่าไม่เอาอีกแล้ว..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 05-08-2024 เมื่อ 02:49
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 31 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา