ในเมื่อเป็นเช่นนั้น อีกส่วนหนึ่งเราก็ต้องเอาหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเข้ามาจับด้วย ก็คือในส่วนของอปัณณกปฏิปทา คือปฏิปทาที่พระภิกษุสามเณรปฏิบัติแล้วจะไม่ผิดแน่นอน ก็คือ โภชเนมัตตัญญุตา ต้องรู้จักประมาณในการกิน ไม่ใช่ตามใจปากของตนเองอย่างเดียว
บุคคลที่ฉันอาหารมาก ถึงเวลาร่างกายหนักด้วยอาหาร ก็มักจะง่วงซึม ขาดสติ ปฏิบัติธรรมก็ไปไม่รอด ดังนั้น..ถ้าหากว่าผ่อนอาหารลงให้เหมาะสมกับธาตุขันธ์ของตน อย่างเช่นว่าไม่เกิน ๒ มื้อ หรือว่าท่านใดที่เคร่งครัด รับประทานแค่มื้อเดียวก็จบกันไปเลยได้ก็ยิ่งดี ร่างกายที่ไม่หนักด้วยสารอาหาร เลือดลมโปร่งเบา เดินคล่อง ภาวนาอย่างไรจิตใจก็สงบทรงตัวได้รวดเร็ว
ในเรื่องของการตีความพระวินัยจึงไม่ใช่การตีความในลักษณะเสมอกันแบบประเทศพม่าแล้วจะจบ แต่ว่าท่านทั้งหลายต้องดูด้วยว่า หลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างไร พูดง่าย ๆ ว่าศึกษาก็ต้องศึกษาให้รอบด้าน ไม่ใช่ตีความเอาตรง ๆ แล้วก็วิ่งตรงไปตามที่เราตีความเหมือนอย่างกับ "เถรตรง" โอกาสที่จะผิดพลาดเดือดร้อนก็ย่อมจะมีจนได้
สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
วันศุกร์ที่ ๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗
(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-08-2024 เมื่อ 02:26
|