โดยที่สรุปลงมาเป็นหลัก "ไตรสิกขา" คือ "ศีล สมาธิ และปัญญา" อย่างเช่นว่า
"สัมมากัมมันตะ" การกระทำที่ถูกต้อง
"สัมมาอาชีวะ" การเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง
"สัมมาวาจา" การพูดที่ถูกต้อง
สามข้อนี้จัดเป็น "ศีล"
"สัมมาวายามะ" ความเพียรที่ถูกต้อง
"สัมมาสติ" การตั้งสติไว้ถูกต้อง
และ "สัมมาสมาธิ" การดำเนินสมาธิให้ถูกต้อง
จัดอยู่ในหมวดของ "สมาธิ"
ส่วน "สัมมาทิฏฐิ" ความเห็นที่ถูกต้อง
และ "สัมมาสัมกัปปะ" การดำริที่ถูกต้อง
นั้นจัดอยู่ในส่วนของ "ปัญญา"
ดังนั้น..ถ้าหากว่าจะเรียงตาม "มรรคมีองค์ ๘" แล้วก็สรุปเป็น "ปัญญา ศีล สมาธิ" แต่เรามักจะใช้คำว่า "ศีล สมาธิ และปัญญา" เป็นไปตามลำดับความยากง่ายในการปฏิบัติ
ก็คือ..เราท่านสามารถรักษา "ศีล" ได้ง่ายที่สุด หลังจากนั้นแล้วก็เพียรพยายามสร้าง "สมาธิ" ให้เกิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากขึ้นไปอีก ต่อไปก็นำเอากำลังสมาธินั้นไปพิจารณา ตัดละสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนเรา-เขา และความยึดมั่นถือมั่นในโลกนี้ เรียกว่า "ปัญญา" เป็นส่วนที่ลำบากยากขึ้นไปอีก
เราจึงมักจะเรียกกันตามความยากง่ายว่า "ศีล สมาธิ และปัญญา" ซึ่งเรียกกันสั้น ๆ ว่า "ไตรสิกขา" คือ สิ่งที่พุทธบริษัททั้งหลายจำต้องศึกษาทั้ง ๓ อย่างด้วยกัน
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย หยาดฝน : 27-07-2024 เมื่อ 05:50
|