ดูแบบคำตอบเดียว
  #10  
เก่า 20-07-2024, 23:43
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 32,716
ได้ให้อนุโมทนา: 158,649
ได้รับอนุโมทนา 4,491,174 ครั้ง ใน 36,326 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าท่านสังเกตจะเห็นว่า หลังจากที่เราปฏิบัติธรรมไปแล้ว ถ้าเรามาฟุ้งซ่าน เราจะฟุ้งซ่านอย่างเป็นหลักเป็นฐาน เป็นงานเป็นการมาก เพราะว่าสมาธิของเราเข้มแข็ง ในเมื่อไปจดจ่ออยู่กับเรื่องที่เป็นกิเลส ก็จะมุ่งมั่นรุนแรง แล้วก็จะทำให้กลับตัวได้ยาก ถอนตัวออกมาได้ยาก บางท่านต้องใช้คำว่า "บ้าไปจนกว่าจะหมดแรง" แล้วถึงจะย้อนกลับมาได้อีกทีหนึ่ง

ดังนั้น..การปฏิบัติที่ถูกต้อง เมื่อท่านทำในส่วนของสมถกรรมฐาน ที่เหมือนกับการเพาะกำลังไปจนเต็มที่แล้ว ก็ต้องมาพิจารณาในส่วนของวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งเปรียบเหมือนกับอาวุธที่มีคม เราต้องมีกำลังถึงยกอาวุธนั้นขึ้นมาได้ เอาไปตัด เอาไปฟัน ในส่วนของกิเลสต่าง ๆ ได้ ถ้าท่านมีแต่กำลัง ไม่มีอาวุธ ก็ไม่สามารถที่จะจัดการกับกิเลสได้ แล้วยังโดนกิเลสหลอกเอากำลังไปใช้มาจัดการกับตัวเราอีก ถ้าท่านมีแต่อาวุธ ไม่มีกำลัง ก็ไม่สามารถที่จะยกอาวุธขึ้นไปตัดมาฟันสิ่งหนึ่งประการใดได้อีกเช่นกัน

ดังนั้น..ในเรื่องของสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน จึงเป็นเรื่องที่ควรจะทำควบคู่กันไป เมื่อเราภาวนาจนกำลังทรงตัวเต็มที่ จะเหมือนกับคนเดินไปชนผนัง ไม่สามารถที่จะไปต่อได้ สภาพจิตของท่านจะคลายออกมาเองโดยอัตโนมัติ ตอนนั้นถ้าท่านไม่รีบหาวิปัสสนาญาณมาพิจารณา ก็จะโดนกิเลสดึงเอากำลังนั้นไปใช้งาน แล้วท่านก็จะฟุ้งซ่านไปหลายวัน กลายเป็นบุคคลที่กระทบไม่ได้ กระทบเมื่อไรก็ระเบิดจนกระทั่งหลายคนท้อใจ คิดว่ายิ่งปฏิบัติธรรม ทำไมกิเลสยิ่งมากขึ้น ?

วิธีที่ดีที่สุดจึงควรปฏิบัติทั้งสองอย่างสลับกันไปสลับกันมา
เหมือนกับคนที่โดนผูกขาเอาไว้ เราต้องสลับกันเดินทีละข้างจึงจะได้ระยะทางเพิ่มขึ้น ถ้าเราจะไปดื้อเดินข้างเดียว นอกจากเดินไม่ได้แล้ว แรงที่เราใช้ในการเดิน อาจจะกระตุกกลับ ทำให้เราหกล้ม หรือว่าบาดเจ็บอีกต่างหาก

ในส่วนนี้ท่านถามว่าผิดทางหรือเปล่า ? ก็ต้องบอกว่า
มาถูกทาง เพราะว่าเห็นกิเลสตนเองอย่างชัดเจน แต่ว่าผิดวิธี ก็คือไปเน้นสมถะโดยไม่ได้ใช้วิปัสสนา
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-07-2024 เมื่อ 03:11
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 14 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา