ในเมื่อเราซักซ้อมอย่างสม่ำเสมอ ตลอดระยะเวลาช่วงนั้น สิ่งที่จะพึงได้ด้วย ก็คือ ศีลทุกข้อจะบริสุทธิ์ เพราะว่าไม่ได้ละเมิดศีล ขณะเดียวกันความคล่องตัวในสมาธิจะมีมาก เพราะว่ากำหนดซักซ้อมอยู่ทั้งวัน และการรู้เห็นของทิพจักขุญาณก็จะชัดเจนมาก
และท้ายสุดเราก็นำเอาทิพจักขุญาณนั้นเกาะภาพพระบนพระนิพพานเอาไว้ กำหนดจิตว่าเราอยู่เบื้องพระพักตร์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นการเฉพาะ ถึงเวลาผู้ใดสวดมนต์ได้ก็ตั้งใจสวดมนต์ ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
สภาพจิตแรก ๆ เราจะเกาะพระนิพพานไม่อยู่ เพราะว่าพระนิพพานมีความละเอียดมาก แต่ถ้าจิตมีงานให้ทำ จิตก็จะมุ่งมั่นอยู่กับงานนั้น เมื่อตั้งใจว่าเราจะสวดมนต์ถวายเป็นพุทธบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา ต่อเบื้องพระพักตร์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบนพระนิพพาน ตราบใดที่เรายังทำงานนั้นไม่เสร็จ จิตก็จะยังเกาะพระนิพพานอยู่
เมื่อเราซักซ้อมบ่อย ๆ ให้หมั่นสังเกตว่า อารมณ์จิตในขณะนั้นไม่มี รัก โลภ โกรธ หลง อย่างไร ? มีความเบาความสบายอย่างไร ? ให้เรากำหนดจดจำอารมณ์นั้น แล้วประคับประคองเอาไว้ เมื่อกำหนดจิตกลับมาสู่ร่างกาย แล้วให้รักษาอารมณ์นั้นให้อยู่กับเรานานที่สุด ถ้าหากซักซ้อมอย่างนี้บ่อย ๆ นอกจากความคล่องตัวในการใช้งานจะมีมากแล้ว การตัดกิเลสโดยอำนาจของมโนมยิทธิยังทำได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้นด้วย
ตอนนี้ก็ขอให้ทุกท่านกำหนดใจจดจ่อเอาไว้ อยู่ที่ภาพพระของเรา อยู่ที่คำภาวนาของเรา กำหนดคำภาวนาและภาพพระของเราตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านอนุสาวรีย์
วันเสาร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๓
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-03-2010 เมื่อ 14:13
|