ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 18-08-2023, 05:56
นักเดินทางสังสารวัฏ นักเดินทางสังสารวัฏ is offline
สมาชิก - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2016
ข้อความ: 77
ได้ให้อนุโมทนา: 139
ได้รับอนุโมทนา 2,967 ครั้ง ใน 205 โพสต์
นักเดินทางสังสารวัฏ is on a distinguished road
Default ว่าด้วยเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท

ผมได้อ่านที่หลวงพ่ออธิบายปฏิจจสมุปบาท และช่วงนี้ผมว่างเลยเจริญธัมมานุสติ ด้วยการพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท เจริญปัญญาเพื่ออาจจะเข้าใจ ธรรมชาติ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ความเป็นจริงมากขึ้น

ผมขอยก ปฏิจจสมุปบาท มานะครับ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี

เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี

เพราะอุปทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี

เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี

เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี


๑.ปฏิจจสมุปบาทที่หลวงพ่อสอนให้ไล่จากบนขึ้นล่าง ตั้งแต่อวิชชาจนถึงชาติ และ ล่างขึ้นบน ตั้งแต่ ชรามรณะจนถึงอวิชชา

ถ้าอย่างงี้ อย่างเราที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ แปลว่าก่อนที่เราจะเกิดเราก็มีอวิชชามาก่อนที่จะเกิดมาแล้ว ใช่หรือเปล่าครับ?

๑.๑ และการที่เราไล่ปฏิจจสมุปบาท จากข้อล่างขึ้นบน เช่น เมื่อเราเกิดมาแล้วแปลว่า เราอยู่ในภพ และถ้าเราอยากจะตัดภพคือไม่เกิดอีก เราก็ต้องตัดตัว ตัณหา ถ้าตัณหาไม่มีตัวอื่น ๆ ด้านบนก็หมดไป และอวิชชาก็หมดไป แปลว่า จิตก็เข้าถึงสภาวะนิพพาน หรือ จิตเข้าใจ/เข้าถึงความจริง หรือมีวิชชาเต็ม ๑๐๐ % ดังนั้นคนที่ได้อย่างน้อย วิชชา ๓ ที่สามารถระลึกชาติได้ เขาก็สามารถระลึกชาติและเห็นตามความเป็นจริงว่า การเวียนว่ายตายเกิด เป็นพรหม เป็นเทวดา มันก็ยังอยู่ในกฎไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยง มันก็ทุกข์ และไม่เที่ยงมันก็ อนัตตา หาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ พอเขาเห็นดังนี้ก็เบื่อในลักษณะที่ว่าเบื่อบนพื้นฐานปัญญา ปัญญาตัวนี้เรียกว่า นิพพิทาญาณ คือยอมรับตามความเป็นจริง ในลักษณะ เราเห็นโทษของการเวียนว่ายตายเกิด ดังนั้นเราขอไม่เกิดแล้วดีกว่า

สรุปง่าย ๆ คือให้เห็นโทษของการเกิดจริง ๆ แต่การเห็นโทษของการเกิดต้องอาศัยอภิญญาในตัวระลึกชาติ หรือมโนมยิทธิ หรือความสามารถอะไรก็ได้ ที่สามารถทำให้ตัวปัญญาของจิตให้เห็นและยอมรับว่า การเกิดนี่แหละเป็นโทษ เลยเบื่อ และปัญญาบอกว่าพอแล้ว ไม่ไปต่อไปแล้ว คือไม่เกิดอีกแล้ว ในเมื่อตัณหาหมด ตัวอื่นด้านบนก็หมด หรือพูดอีกแง่มุมตามที่ผมได้ศึกษามาคือ เรายึดได้เราก็ปล่อยได้

อยากทราบว่าที่ผมอธิบายมา ผมพอจะเข้าใจตามความเป็นจริงหรือเปล่าครับ?

๑.๒ ผมอยากถามรายละเอียดในข้อ
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี

ถ้าอย่างการที่คนเราปรารถนา เช่น ชาตินี้ผมไม่รวย ขอให้เกิดมาชาติหน้าขอให้รวยมีเงินมีทองเยอะ ๆ แปลว่าเราได้สร้างตัณหา ด้วยตัวเราเอง ไม่มีใครมาบังคับเราหรือเปล่าครับ?

๑.๓ และอย่างการที่บุคคลหรือดวงจิตที่ปรารถนา พุทธภูมิจริง ๆ คือ อยากให้จิตเข้าถึงธรรมชาติขั้นสุดยอด คือพระโพธิญาณ หรือ พระทศพลญาณ ถ้าตราบใดที่ดวงจิตเหล่านั้นยังไม่เข้าถึงพระทศพลญาณ ดวงจิตเหล่านั้น ก็ต้องสร้างเหตุ จนกว่าจะเข้าถึงพระทศพลญาณให้ได้ หรือเปล่าครับ?

หรือพูดอีกแบบในอีกแง่มุม ตัวตัณหา ที่ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า เป็นเหตุให้เกิดอุปทาน และเกิดภพ และทำให้พระโพธิสัตว์นั้นเวียนว่ายตายเกิดจนกว่าจะบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้านั่นเอง ตัวอย่างชัด ๆ เลยอย่างสมเด็จองค์ปัจจุบัน ที่ท่านอธิษฐานในสมัยเป็นพระโพธิสัตว์ประมาณว่า เราจะไม่ยอมเข้าพระนิพพานไปคนเดียว เราจะพาคนอื่นข้ามไปด้วย เราสุขแล้วเราจะพาคนอื่นสุขด้วย

๑.๔ และอย่างการที่คนเราปรารถนาเจาะจงเลยว่าขอให้เราไปแดนพระนิพพานในชาตินี้ หรือ พูดอีกแบบ ขอให้ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย เราจะไม่เกิดอีกแล้ว เพราะเข็ดแล้วแบบนี้จะเป็นตัณหา ในปฏิจจสมุปบาท ได้หรือเปล่าครับ หรือเป็นแค่ตัวอธิษฐานบารมี หรือพูดในอีกแง่มุม เป็นมรรคคือเห็นทุกข์ แต่ยังไม่ได้เป็น ผล? หลวงพ่อช่วยอธิบายทีครับ

ที่ผมเล่ามาผมเข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงหรือเปล่าครับ?

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นักเดินทางสังสารวัฏ : 18-08-2023 เมื่อ 21:35
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 7 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ นักเดินทางสังสารวัฏ ในข้อความที่เขียนด้านบน
เด็กใต้ (18-08-2023), เถรี (18-08-2023), นาย หวังดี (05-09-2023), มนตรีหกเก้า (18-08-2023), สุธรรม (18-08-2023)