ส่วนในเรื่องของการโกรธต้องให้สมกับอำนาจนั้น ท่านบอกว่าบุคคลที่เป็นเจ้าคณะปกครองนั้น มีสิ่งที่บังคับอย่างหนึ่งคือต้องโกรธเป็น คำว่าโกรธเป็นในที่นี้ก็คือ ต้องแสดงให้เห็นว่าอำนาจการปกครองอยู่ในมือของเรา เราจำเป็นอย่างยิ่งต้องกดข่มบุคคลที่ควรกดข่ม ต้องยกย่องบุคคลที่ควรยกย่อง
ในเมื่อบุคคลทำผิด ต่อให้ไม่โกรธ ก็ต้องแสดงท่าทีให้รู้ว่าโกรธ เพื่อที่บุคคลนั้น ๆ จะได้แก้ไข ปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น ถ้าหากว่าเมตตาร่ำไป ก็อาจจะเจอแต่คนพาลทั้งเมือง แล้ววัดวาอาราม หรือว่าองค์กรนั้น ๆ ก็ไม่สามารถที่จะไปต่อได้ เพราะว่าไปเจอบุคคลที่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ส่วนรวม เอารัดเอาเปรียบส่วนรวมอยู่เสมอ ถ้าหากว่าโกรธไม่เป็น ก็เป็นใหญ่ไม่ได้เหมือนกัน
ส่วนคำว่า เพิ่มพูนให้สมกับการตัดรอนนั้น เป็นการให้รางวัลและลงโทษตามสิ่งที่กระทำดีและกระทำชั่วของบุคคลใต้บังคับบัญชา ก็คือถ้าใครทำดีก็มีรางวัลให้ เหมือนอย่างกับสมัยก่อน พระมหากษัตริย์ก็มีเบี้ยหวัดผ้าปีให้แก่ข้าราชการ เป็นต้น ถ้าหากว่าใครทำความดี ก็อาจจะได้รับมอบรางวัลอื่น ๆ ตามสมควรแก่เหตุ มากบ้างน้อยบ้าง
ในขณะเดียวกัน ถ้าหากว่าบางท่านกระทำผิด ก็อาจจะถึงขนาดโดนยึดทรัพย์ ริบราชบาตร จับตัวเองเข้าคุกเข้าตาราง หรือไม่ก็อาจจะโดนลงโทษถึงขนาดประหารชีวิตไปเลย
ดังนั้น...ในส่วนของการไปเป็นเจ้าคณะปกครอง โดยเฉพาะเจ้าอาวาส กรุณาต้องให้สมกับเหตุ โกรธต้องให้สมกับอำนาจ และเพิ่มพูนต้องให้สมกับการตัดรอน ถึงจะได้รับความเกรงใจและความเชื่อถือจากคนทั่วไป
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-05-2022 เมื่อ 02:42
|